กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกและเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากน้ำมัน มีการประเมินว่ามนุษย์ดื่มกาแฟมากกว่า 2,000 ล้านถ้วยต่อวัน ลำพังชาวอเมริกันก็ปาไปมากกว่า 60% ที่ดื่มกาแฟในแต่ละวัน การกำจัดกากกาแฟที่ใช้แล้วมีมากกว่า 8,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี

จะเป็นอย่างไรหากยับยั้งกากกาแฟไปลงเอยที่หลุมฝังกลบ แต่นำมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ แม้แนวคิดนี้อาจดูเพ้อฝัน แต่การศึกษาใหม่จากผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาผลิตภัณฑ์นมและวิทยาศาสตร์การอาหารของมหาวิทยาลัยเซาท์ดาโกตา สเตท ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า กากกาแฟที่ใช้แล้วนำมาทำเป็นฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยสกัดเส้นใยลิกโนเซลลูโลส (lignocellulosic) จากกากกาแฟที่ใช้แล้ว จากนั้นก็นำเข้าสู่กระบวนการดัดแปลงทางเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ฟิล์มเหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ฟิล์มที่ได้มาพบว่าย่อยสลายทางชีวภาพได้ภายใน 45 วันในดิน และมีความต้านทานแรงดึงสูง นอกจากนี้ ฟิล์มทำจากกากกาแฟยังปิดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตได้มาก และแสดงคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ

นักวิจัยเผยว่า ฟิล์มที่พัฒนาใหม่นี้จะเป็นวัสดุที่มาแทน8ที่พลาสติกได้ในอนาคต และเชื่อว่าการวิจัยนี้จะช่วยเปิดช่องทางใหม่ๆ สำหรับการจัดการกากกาแฟที่ใช้แล้ว.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่