กฎระเบียบการลงโทษนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการประเทศไทยมีกี่ข้อ และตามมาตรฐานสากลของสหประชาชาติมีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร

รู้จักกฎระเบียบการลงโทษนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรฐานสากลของสหประชาชาติ

กฎระเบียบการลงโทษนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ

...

ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษาเผยถึงระเบียบและกฎกระทรวงศึกษาธิการ 3 ฉบับ เกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา และการกําหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2548 และมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในปี 2562 โดยสาระสำคัญ คือ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตน ดังนี้

  1. หนีเรียน หรือออกนอกสถานศึกษา โดยไม่ได้รับอนุญาต
  2. เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่น หรือมั่วสุมในวงการพนัน
  3. พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด
  4. ซื้อ จําหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด
  5. ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจ เพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น
  6. ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรวมกลุ่มหรือมั่วสุม เพื่อกระทำการดังกล่าว
  7. แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม กระทำลามกอนาจาร แต่งกายล่อแหลม หรือไม่เรียบร้อยในโรงเรียน หรือสถานศึกษา หรือแต่งเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาไม่เรียบร้อย
  8. เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
  9. เที่ยวเตร่นอกสถานที่พัก รวมกลุ่ม หรือมั่วสุม อันเป็นการสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ตนเอง หรือผู้อื่น

ส่วนกำหนดโทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทําความผิด มี 4 สถาน คือ

  1. ว่ากล่าวตักเตือน
  2. ทําทัณฑ์บน
  3. ตัดคะแนนความประพฤติ
  4. ทํากิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

...

พร้อมทั้งห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุและความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย ซึ่งการลงโทษให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัย และความประพฤติไม่ดี ให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป

ขณะเดียวกัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ที่รัฐเกือบทุกแห่งทั่วโลกได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติรวมถึงประเทศไทยด้วย ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 และมีผลใช้บังคับในวันที่ 2 กันยายน 2533 ได้กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ที่จะดำเนินการให้สิทธิภายใต้อนุสัญญาฯ ได้รับการปฏิบัติจริง ข้อ 28 (2) แห่งอนุสัญญาฯ กล่าวว่า วิธีการสร้างวินัยของโรงเรียนนั้นจะต้อง

“กำหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและสอดคล้องกับอนุสัญญานี้”

คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติดำเนินการในการติดตามการที่รัฐจะนำอนุสัญญาไปใช้ได้อธิบายความข้อนี้ไว้ชัดเจนและสม่ำเสมอว่า หมายถึงการห้ามการลงโทษเด็กในโรงเรียน คณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการติดตามการดำเนินงานของอนุสัญญาฉบับอื่นๆ เน้นย้ำว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับสากลและระดับภูมิภาคต้องดำเนินการให้มีการห้ามการลงโทษเด็กในโรงเรียนเช่นกัน

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ของสหประชาชาติกล่าวว่าวิธีการสร้างวินัยของโรงเรียนนั้นจะต้องกำหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและสอดคล้องกับอนุสัญญานี้
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ของสหประชาชาติกล่าวว่าวิธีการสร้างวินัยของโรงเรียนนั้นจะต้องกำหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและสอดคล้องกับอนุสัญญานี้

คำว่า “เด็ก” ตามอนุสัญญา หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ในดังข้อต่อไปนี้ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้แก่

ข้อที่ 1 รัฐภาคีจะเคารพและประกันสิทธิตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญานี้แก่เด็กที่อยู่ในเขตอำนาจ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ต้นกำเนิดทางชาติ ชาติพันธุ์ สังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิดหรือสถานะอื่นๆ

ข้อที่ 2 ผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก

ข้อที่ 3 รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสม ทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และด้านอื่นๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามสิทธิที่อนุสัญญานี้ให้การยอมรับ

ข้อที่ 4 รัฐภาคีจะเคารพต่อความรับผิดชอบ สิทธิ หน้าที่ของบิดามารดา ในอันที่จะให้แนวทาง การแนะแนวที่เหมาะสมในการใช้สิทธิของเด็กตามที่อนุสัญญานี้ให้การรับรอง

ข้อที่ 5 รัฐภาคียอมรับว่าเด็กมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต และประกันอย่างเต็มที่ให้มีการอยู่รอดและการพัฒนาของเด็ก

ข้อที่ 6 รัฐภาคีจะหยุดยั้งการโยกย้ายเด็กและการไม่ส่งเด็กกลับคืนจากต่างประเทศที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ข้อที่ 11 รัฐภาคีจะประกันแก่เด็กซึ่งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกๆ เรื่อง ที่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนพิจารณาทางตุลาการและทางปกครอง

ข้อที่ 12 เด็กมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก

ข้อที่ 13 รัฐภาคีจะเคารพต่อสิทธิของเด็กที่จะมีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา

ข้อที่ 14 รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ โดยไม่อาจจำกัดการใช้สิทธิเหล่านี้ นอกเหนือจากข้อจำกัดที่กำหนดขึ้นโดยสอดคล้องกับกฎหมาย และที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย

ข้อที่ 15 เด็กจะไม่ถูกแทรกแซงในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว บ้าน หนังสือโต้ตอบ และจะไม่ถูกกระทำโดยมิชอบต่อเกียรติและชื่อเสียง

ข้อที่ 16 รัฐภาคียอมรับในสิทธิของเด็ก ผู้ซึ่งได้รับการจัดโดยหน่วยงานที่มีอำนาจให้ไปได้รับการดูแล การคุ้มครอง หรือการบำบัดรักษาสุขภาพ ในอันที่จะได้รับการทบทวนการบำบัดรักษาเป็นระยะๆ

ข้อที่ 25 รัฐที่มีชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา หรือกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ เด็กต้องไม่ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะปฏิบัติตามวัฒนธรรม ที่จะนับถือและปฏิบัติทางศาสนาหรือสิทธิที่จะใช้ภาษาของตน

ข้อที่ 30 รัฐภาคีจะเคารพและประกันให้มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในกรณีพิพาทกันด้วยอาวุธซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็ก ประกันว่าบุคคลที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี จะไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน และหลีกเลี่ยงการเกณฑ์บุคคลที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี เข้าประจำกองทัพ

ข้อที่ 38 ไม่มีส่วนใดในอนุสัญญานี้จะมีผลกระทบต่อบทบัญญัติใดๆ ซึ่งให้สิทธิของเด็กบังเกิดผลมากกว่าในกฎหมายของรัฐภาคี หรือกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับกับรัฐนั้น