วันดื่มนมโลก (1 มิถุนายน 2566) ของทุกปีที่รณรงค์ และขับเคลื่อนให้ประชากรโลกนั้นได้ดื่มนมเพื่อสุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัย พร้อมทั้งวิธีดื่มนมวัวให้ถูกต้อง และผู้ที่แพ้นมวัวควรทำอย่างไร

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันดื่มนมโลก” (World Milk Day) โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ Food and Agriculture Organization (FAO) เพื่อให้ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญ และสนับสนุนการดื่มนมเพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชากรโลก

อย่างที่ทราบกันดีว่า คุณประโยชน์จากนมวัว มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเลิศ รวมทั้งยังให้สารวิตามินสำคัญในการเจริญเติบโตแก่ร่างกาย เช่น วิตามิน A, วิตามิน B, วิตามิน B1, วิตามิน B2, วิตามิน B6, วิตามิน B12, วิตามิน D,  Calcium และ Phosphorus ซึ่งส่งผลที่ดีมากๆ ต่อมวลกระดูก การขยายตัว และซ่อมแซม ทำให้นมวัวเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย 

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายว่าจะรณรงค์ให้คนไทยนั้นดื่มนมให้ได้ถึง 25 ลิตร ต่อคน ต่อปี ภายในปี 2570 โดยในปัจจุบันคนไทยดื่มนมน้อยลงเป็นอย่างมาก เป็นจำนวน 21.5 ลิตร ต่อคน ต่อปีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทั่วโลก เช่น

  • ออสเตรเลีย ดื่มนม 93.6 ลิตร / คน / ปี
  • อังกฤษ ดื่มนม 89.6 ลิตร / คน / ปี
  • สหรัฐอเมริกา ดื่มนม 62 ลิตร / คน /ปี
  • อินเดีย ดื่มนม 60 ลิตร / คน / ปี
  • สหภาพยุโรป ดื่มนม 53.28 ลิตร / คน / ปี 
  • ญี่ปุ่น ดื่มนม 32.8 ลิตร / คน / ปี
  • เกาหลีใต้ ดื่มนม 29.5 ลิตร / คน / ปี

พฤติกรรมการดื่มนมนี้ชี้ให้เห็นถึงภาวะโภชนาการของเด็กไทยมีค่าลดลง โดยสังเกตได้จากร่างกายที่เตี้ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 10.4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 19 ปี เพศชายเพียง 166.8 เซนติเมตร และเพศหญิงเพียง 157.8 เซนติเมตร โดยประเทศไทยมีเป้าหมายในการผลักดันค่าเฉลี่ยส่วนสูงของร่างกาย ภายปี 2570 ที่เพศชาย 170 เซนติเมตร และเพศหญิง 165 เซนติเมตร

...

วิธีดื่มนมให้มีประโยชน์ที่สุด และดีต่อร่างกาย ในแต่ละช่วงวัย

เริ่มจากการเลือกซื้อ และดื่มนมให้ถูกต้องตามหลักอนามัย และได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ที่สุดโดยส่วนใหญ่ควรเลือกดื่มนมจืด และนมพร่องมันเนย โดยหลีกเลี่ยงนมที่แต่งกลิ่น ที่มีรสชาติหวาน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ฟันผุ, น้ำตาลในเลือดสูง, และน้ำหนักตัวเพิ่มที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน รวมทั้งอ่านฉลากให้ถูกต้องก่อนที่จะซื้อรับประทาน โดยการดื่มนมที่ดี ต้องมีปริมาณเพียงพอที่จำเป็นต่อวัน ดังนี้

  • อายุ 3 - 12 ปี : ควรดื่มนม 3 แก้ว ต่อวัน / ดื่มเพิ่มได้จนถึง 1 ลิตร ต่อวัน
  • อายุ 13 - 25 ปี : ควรดื่มนม 3 - 4 แก้ว ต่อวัน
  • อายุ 25 ปี ขึ้นไป - ผู้สูงอายุ : ควรดื่มนม 3 แก้ว ต่อวัน และไม่ควรน้อยกว่าวันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้รับแคลเซียม 1,000 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ที่ส่งผลที่ดีต่อมวลกระดูก

ดื่มนม 1 แก้ว / 1 กล่อง ได้รับสารอาหารอะไรบ้าง

  • โปรตีน โดยเฉลี่ยทั้งหมด 6 กรัม และกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • สร้างกระดูก ซ่อมแซมกระดูก และฟันที่สึกหรอ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, สังกะสี, แมกนีเซียม และซีลีเนียม
  • แหล่งรวมวิตามิน A, B, B1, B2, B6,  B12, และวิตามิน D 
  • สารอาหาร วิตามิน และโปรตีน ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

อาการแพ้นมวัว ควรทำอย่างไร

อาการแพ้นมวัว เป็นอาการแพ้หนึ่งที่มีคนเป็นจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายปัจจัย และภูมิต้านทานของบุคคลนั้นๆ ซึ่งการทราบสาเหตุที่แน่ชัดนั้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และติดตามผลเพื่อโภชนาการที่ถูกต้องต่อสุขภาพ และชีวิต

ดังนั้นแล้วอาการแพ้นมวัวนี้ เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่ต้องการสารอาหารสำคัญ วิธีแก้นั้นอาจจะขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคนที่มีอาการร่วมมาก หรือร่วมน้อย จึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และหาทางรักษาตามอาการต่อไป โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำโภชนาการทดแทนเช่น นมทางเลือก (Alternative Milk) ตามความเหมาะสมของร่างกายที่มีโปรตีน และสารอาหารสูงทดแทนได้ มีรายการดังต่อไปนี้

...

นมข้าว : นมที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ธาตุเหล็ก ไฟเบอร์ โปรตีน และวิตามินต่างๆ โดยจะให้สารอาหารหลักเป็นคาร์โบไฮเดรต ที่มีมากกว่าโปรตีน สามารถย่อยได้ง่าย เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่คุมน้ำหนัก

นมถั่วเหลือง : นมทางเลือกที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย ที่มีสารอาหารครบถ้วนไม่แพ้นมวัว เช่น โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ ซึ่งจะเป็นนมที่ไม่มีคอเลสเตอรอล ไขมันต่ำ แต่ก็แลกมาด้วยพลังงานที่ต่ำกว่านมวัว

นมอัลมอนด์ : เป็นนมที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนัก และลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้กับตัวเอง มีสารอาหารไม่แพ้นมวัว ซึ่งนมอัลมอนด์เป็นนมที่ไม่มีแลคโตสที่เป็นสารหนึ่งที่ทำให้คนแพ้นมวัวเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะถูกนำมาเป็นทางเลือกหลัก แทนการดื่มนม

นมพิสตาชิโอ : นมพิสตาชิโอเป็นนมจากพืชที่นอกจากจะช่วยคุมน้ำหนักแล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นที่ช่วยในเรื่องลดน้ำตาล และลดแป้งที่น้อยกว่านมวัว แต่โปรตีนนั้นจะน้อยกว่านมวัว และนมถั่วเหลืองเป็นปริมาณที่มาก ดังนั้นแล้วการดื่มนมพิสตาชิโอ อาจจะต้องดื่มในประมาณมากกว่านมชนิดอื่นๆ

นมมะพร้าว : เป็นนมทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย ถึงแม้ว่าจำนวนโปรตีน และวิตามินต่างๆ ที่มีในนมวัวจะน้อยมาก แต่มีสารอาหารอื่นๆ มาทดแทนได้ เช่น เกลือแร่, โพรแทสเซียม, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม และแคลเซียมที่ยังสามารถทดแทนนมวัวได้เป็นอย่างดี และยังมีกรดลอริก ที่เข้าไปช่วยในเรื่องการต้านอนุมูล เชื้อโรคต่างๆ และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี

นมข้าวโอ๊ต : นมทางเลือกไขมันต่ำอีกหนึ่งชนิด เป็นที่นิยมสำหรับคนที่สนใจคุมน้ำหนัก มีเบต้ากลูแคนที่ละลายน้ำได้สูงช่วยในการย่อย และซ่อมแซมร่างกาย มีแคลเซียมสูง รวมถึงลดน้ำตาลได้

...

นมข้าวโพด : นมทางเลือกที่มากไปด้วยวิตามินต่างๆ และโอเมก้า 3 ซึ่งพอที่จะสามารถทดแทนนมวัวได้ รวมทั้งยังช่วยเรื่องของการขับถ่าย และต้านอนุมูลอิสระทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งได้ในทุกช่วงวัย

ทั้งหมดนี้เป็นนมทางเลือกที่จะถูกนำมาทดแทนผู้ที่แพ้นมวัว ถึงแม้ว่าสารอาหาร และพลังงานที่ได้อาจจะไม่เพียงพอเท่ากับการดื่มนมวัว แต่อย่างน้อยก็มีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย และดีต่อสุขภาพ ที่เข้ามาทดแทน ซึ่งบางชนิดมีคุณประโยชน์ต่างๆ มีไม่น้อยกว่านมวัวเลย

ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข