มนุษย์เราใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการ เดิน การหายใจ ฯลฯ แต่ในอวกาศนั้นแตกต่าง สถานการณ์แรงโน้มถ่วงขนาดเล็กในอวกาศสร้างความท้าทายหลายอย่างสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตบนโลกต้องการออกซิเจนเพื่อความอยู่รอด ขณะที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ นั้นออกซิเจนถูกสร้างขึ้นโดยใช้เซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่แยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน จากนั้นก๊าซเหล่านี้จะถูกนำออกมาก
ทว่าการทำให้นักบินอวกาศหายใจบนสถานีอวกาศนานาชาติและยานอวกาศอื่นๆ ก็เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่มนุษย์กำลัง วางแผนที่จะเดินทางไปยังดวงจันทร์หรือดาวอังคารในอนาคต เทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิมจึงจำเป็นอย่างมาก เมื่อเร็วๆนี้ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวอริก ในอังกฤษ และมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน ในเยอรมนี เผยว่า คิดค้นวิธีที่น่าจะดีกว่าในการสร้างออกซิเจนเพื่อให้นักบินอวกาศได้ใช้ในอวกาศโดยอาศัยแม่เหล็ก โดยได้ลองทดสอบในอาคารที่จำลองสภาวะไร้น้ำหนัก ทีมได้พัฒนาขั้นตอนในการแยกฟองก๊าซออกจากพื้นผิวอิเล็กโทรดในสภาพไร้น้ำหนัก โดยใช้เวลา 9.2 วินาที การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าฟองก๊าซสามารถดึงดูดและขับไล่จากแม่เหล็กที่มีส่วนประกอบหลักคือนีโอดิเมียม (neodymium magnet) ได้ง่ายดายในสภาวะไร้น้ำหนัก โดยการจุ่มลงในสารละลายน้ำประเภทต่างๆ
ทีมเผยว่า การวิจัยนี้สามารถเปิดช่องทาง ใหม่ต่อการพัฒนาระบบออกซิเจน ตลอดจนการวิจัยด้านอวกาศอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ.