ชดเชยเลิกจ้าง ปิดกิจการ จากกรณีที่มีหลายบริษัทพากันปิดตัวในช่วงนี้ ทำให้ลูกจ้างจำนวนมากต้องตกงานกะทันหันแบบไม่ทันตั้งตัว ในกรณีแบบนี้ลูกจ้างจะได้รับการชดเชยเลิกจ้างอย่างไรบ้าง ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐออนไลน์รวมข้อมูลมาให้แล้ว

ชดเชยเลิกจ้าง ปิดกิจการ ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิได้หรือไม่

สำหรับกรณีที่นายจ้างปิดกิจการกะทันหันโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งงวดค่าจ้างตามกฎหมายกำหนด อีกทั้งลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดต่อนายจ้าง ในกรณีนี้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายดังต่อไปนี้

1. ได้รับค่าชดเชยเลิกจ้างตามระยะเวลาการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 ปัจจุบันหลักเกณฑ์การชำระค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง เป็นดังนี้

  • ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 30 วัน
  • ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้เงินชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 90 วัน
  • ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้เงินชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 180 วัน
  • ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้เงินชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 240 วัน
  • ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้เงินชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 300 วัน
  • ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้เงินชดเชยเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 400 วัน

...

2. ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน

3. ได้รับค่าชดเชยพิเศษ

4. ได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

5. ต้องนำเงินค่าวันลาพักร้อนที่เหลือ มาคำนวณเป็นเงินคืนให้ลูกจ้าง

นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องรับผิดชอบค่าสินจ้าง ค่าชดเชยเลิกจ้าง ค่าชดเชยพิเศษ และค่าเสียหาย ให้แก่ลูกจ้างอย่างเต็มจำนวน จะบังคับให้ลูกจ้างรับเงินเพียงแค่บางส่วนไม่ได้ ถือว่าผิดกฎหมายแรงงาน

ชดเชยเลิกจ้าง หากไม่เป็นธรรม ลูกจ้างต้องทำอย่างไร

หากลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมกรณีนายจ้างไม่ชำระค่าสินจ้าง ค่าชดเชยเลิกจ้าง ค่าชดเชยพิเศษ และค่าเสียหาย ลูกจ้างสามารถไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือท้องที่ที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ โดยพนักงานตรวจแรงงานจะต้องดำเนินการทำคำสั่งให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้อง

ชดเชยเลิกจ้าง สิทธิประกันสังคมให้อะไรบ้าง

สิทธิผู้ประกันตน กรณีถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท