หลายคนอาจสงสัยว่า กัญชงกับกัญชาต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก ถ้าไม่สังเกตดีๆ หากเป็นพืชตระกูลเดียวกันจะมีสรรพคุณเหมือนกันหรือไม่ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เรารวมคำตอบมาให้แล้ว
กัญชงกับกัญชาเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์
กัญชา (Marijuana) และกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญดังต่อไปนี้
กัญชง ลักษณะทางกายภาพและสารสำคัญ
- กัญชง (Hemp)
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.subsp. Sativa
- สีของใบ: เขียวอ่อน
- ลักษณะใบ: ใบเรียว เรียงตัวห่างกว่าใบกัญชามีแฉกประมาณ 7-11 แฉก
- ลำต้น: ลำต้นสูงเรียวมากกว่า 2 เมตร
- กิ่งก้าน: แตกกิ่งก้านน้อย
- เส้นใย: เส้นใยให้ปริมาณมากกว่ากัญชาและมีคุณภาพสูง
- เมล็ด: มีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ มีลายบ้าง
- ปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol): THC ไม่เกิน 1%
- ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol): CBD เกิน 2%
- ประโยชน์: มักนำแปรรูปมาใช้ในงานสิ่งทอ, ทำกระดาษ, เมล็ดสกัดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง
...
กัญชา ลักษณะทางกายภาพและสารสำคัญ
- กัญชา (Marijuana)
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.subsp. Indica
- สีของใบ: เขียวเข้ม
- ลักษณะใบ: ใบหนากว้าง เรียงตัวชิดกัน มีแฉกประมาณ 5-7 แฉก
- ลำต้น: ลำต้นเตี้ยเป็นพุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร
- กิ่งก้าน: แตกกิ่งก้านมาก
- เส้นใย: เส้นใยคุณภาพต่ำกว่ากัญชง
- เมล็ด: มีขนาดเล็กกว่า ผิวมีลักษณะมันวาว
- ปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol): THC เกิน 1%
- ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol): CBD ไม่เกิน 2%
- ประโยชน์: นิยมนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างกัญชงและกัญชาก็คือปริมาณสาร THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดอาการเคลิ้มและง่วง หรือที่เรียกกันว่า “เมากัญชา” ในกัญชงมีปริมาณน้อยกว่า รวมถึงลักษณะของเส้นใยกัญชงที่มักจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น ขณะที่กัญชามักจะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์มากกว่า
ดังนั้นแม้ว่าทั้งกัญชงและกัญชาจะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันและมีหน้าตาคล้ายกันมาก แต่ประโยชน์ที่นำมาใช้งานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน
อ้างอิงข้อมูล: ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต