เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ปริมาณของเสียที่ผลิตก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น พบพลาสติกได้ในทุกสภาพแวดล้อมบนโลก ริมฝั่งน้ำจัดเป็นหนึ่งของแหล่งมลพิษเพราะแม่น้ำจะรวบรวมและไหลพาขยะไปตลอดเส้นทาง ทั้งนี้ ขยะพลาสติกจะลดคุณภาพน้ำ เพิ่มความเสี่ยงจากน้ำท่วม สร้างอันตรายต่อพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใช้แม่น้ำและแหล่งที่อยู่อาศัย มลพิษจากพลาสติกจึงเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก แต่การเข้าใจขนาดของปัญหานับเป็นเรื่องท้าทายการแก้ปัญหา
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสึคุบะในญี่ปุ่น เผยว่าขั้นตอนแรกในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยคือการทำความเข้าใจว่าพลาสติกสะสมอยู่ที่ใด พร้อมระบุว่าได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการทำแผนที่ขยะพลาสติกรอบแม่น้ำ และตั้งเป้าว่าต้องเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดกว่าวิธีการเดิมๆในการกำหนดแผนที่มลพิษในระบบชายฝั่งที่สามารถนำมาใช้ในวงกว้างได้ ทีมใช้การผสมผสานระหว่างภาพแสงและความร้อนที่มีความละเอียดสูง ซึ่งรวบรวมจากการใช้โดรนบินในระยะต่ำ เพื่อตรวจจับมลพิษพลาสติกตามแม่น้ำบรันตาส เมืองมาลัง ในอินโดนีเซีย จากนั้นใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือแมชชีน เลิร์นนิง เพื่อประมวลผลภาพ โดยแยกประเภทแมชชีน เลิร์นนิง 3 แบบที่แตกต่างกันเพื่อทดสอบว่าแบบไหนจะจำแนกวัตถุประเภทต่างๆ รวมถึงพลาสติกได้อย่างแม่นยำที่สุด
ผลจากการทดสอบด้วยวิธีดังกล่าว ทีมพบว่าการผสมผสานระหว่างภาพที่รวมแสงและความร้อนทำให้สามารถประมาณการปริมาณขยะพลาสติกได้แม่นยำที่สุด.
Credit : University of Tsukuba