โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของอินเดีย และเป็นสาเหตุอันดับที่ 6 ของความทุพพลภาพ การทำกายภาพ บำบัดเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีในการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางร่างกาย อีกทั้งอาจใช้เวลาหลายวันถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความทุพพลภาพ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล
เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักฟิสิกส์ของสถาบันวิทยาศาสตร์อินเดีย ได้พัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ที่อ่อนนุ่มเป็นถุงมือทำจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ใช้วัสดุโพลิเมอร์ที่ทำจากซิลิโคน มีความโปร่งใส ปรับแต่งได้ ใช้การควบคุมจากระยะไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติพื้นฐานของแสง การหักเหและการสะท้อนของแสง แหล่งกำเนิดแสงจะติดตั้งอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของวัสดุยางโปร่งใส ส่วนปลายอีกด้านมีเครื่องตรวจจับแสง ซึ่งการเคลื่อนไหวใดๆที่นิ้วหรือแขนของผู้ป่วยจะทำให้วัสดุที่ยืดหยุ่นเกิดการเสียรูป และการเสียรูปจะเปลี่ยนเส้นทางของแสง อุปกรณ์จะแปรการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติแสงเป็นหน่วยเชิงปริมาณ เพราะแสงเดินทางผ่านความยาวทั้งหมดของอุปกรณ์ ก็จะวัดการเคลื่อนไหวตามส่วนต่างๆของนิ้วหรือแขนของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ในขณะที่อุปกรณ์ตรวจจับการงอของนิ้วยังสามารถวัดระดับการโค้งงอที่ข้อต่อของทุกนิ้ว ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักกายภาพบำบัดให้คำปรึกษาทางไกลแก่ผู้ป่วยได้ อีกทั้งแนวทางนี้อาจขยายไปสู่การใช้งานอย่างเทคโนโลยีการรวมสภาพแวดล้อมจริงเข้ากับวัตถุเสมือนในเวลาเดียวกัน รวมถึงการวัดค่าด้านสุขภาพแบบในเวลาจริงหรือเรียลไทม์.
Credit : Mesoscopic Lab, Department of Physics, llSc