ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมระหว่างประชาชนทั่วไปกับสถาบันการเงินให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นตลอด 40 ปี สำหรับ “วารสารการเงินธนาคาร” ภายใต้การนำของ “สันติ วิริยะรังสฤษฎ์” เพื่อฉลอง 4 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ ได้มีการจัดทำหนังสือฉบับพิเศษ “40 ปี บันทึกประวัติศาสตร์การเงินไทยสี่ทศวรรษ” รวบรวมเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจและการเงินไทย ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เสมือนเป็นกระจกสะท้อนความเป็นไปของธนาคารพาณิชย์และตลาดเงินตลาดทุนไทย
นอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนของประเทศไทยอย่างลุ่มลึกทุกแง่มุม ภายในหนังสือ “40 ปี บันทึกประวัติศาสตร์การเงินไทยสี่ทศวรรษ” ยังพาขึ้นไทม์แมชชีนย้อนรอยไปสำรวจวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ๆ ที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์ และเป็นจุดกำเนิดของผู้เล่นหน้าใหม่ในระบบการเงินไทย ตลอดจนเจาะลึกนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ และการดำรงชีวิตของคนไทย ตลอดช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
เปิดฉากด้วย “ทศวรรษที่ 1 (2525-2534) : ATM เครื่องแรก พลิกโฉมธนาคารไทย” ในยุคแรกของการใช้งานเอทีเอ็ม ธนาคารพาณิชย์ได้พัฒนาบริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มมากขึ้น เช่น บางธนาคารนำเครื่องเอทีเอ็มที่มีเสียงพูด ทำหน้าที่เสมือนพนักงานธนาคาร จะบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง ขณะที่บางธนาคารพัฒนาเครื่องเอทีเอ็มให้รองรับการใช้งานถึง 4 ภาษา
...
“ทศวรรษ ที่ 2 (2535-2544) : วิกฤติต้มยำกุ้ง อวสานบริษัทเงินทุน” ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งฟ้าผ่าปิด 7 ไฟแนนซ์ ตัดมะเร็งร้ายก่อนล่มทั้งระบบ เพื่อป้องกันปัญหาลุกลามบานปลาย ปี 2540 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้งระบบ มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 54,919 ล้านบาท จากปี 2539 ที่มีกำไรสุทธิ 13,802 ล้าน บาท หรือลดลง 497.91%
“ทศวรรษที่ 3 (2545- 2554) : ธนาคารยุคใหม่ ก้าวข้ามโลกลงทุนไร้พรมแดน” เข้าสู่ยุคบริโภคเฟื่องฟูเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ
“ทศวรรษที่ 4 (2555-2564) : เศรษฐกิจการเงินการลงทุนยุคดิจิทัล” เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตและการบริการสามารถสั่งซื้อหนังสือล่วงหน้าพร้อมรับส่วนลดทันที 20% ผ่านช่องทาง Line my shop : @moneyandbanking
วันนี้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หลังจากนั้นสามารถสั่งผ่านช่องทางเว็บไซต์ ma.co.th และ Shopee หรือในรูปแบบดิจิทัลที่ Ookbee, MEB, HYTEXTS และ SE-ED E-Magazine สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Line : @moneyandbanking.