ในเดือน เม.ย.ปีก่อน นักวิจัยโครงการมัมมี่วอร์ซอ ของมหาวิทยาลัยวอร์ซอ และนักโบราณคดีจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งโปแลนด์ พบกรณีแรกของมัมมี่อียิปต์ที่มีครรภ์ ซึ่งก่อนนั้นคิดว่าร่างมัมมี่นี้เป็นของนักบวชชายในศตวรรษแรกก่อนคริสต์ศักราช ทว่าเมื่อเอกซเรย์และทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์กลับพบว่าเป็นสตรีที่ตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน

มัมมี่หญิงผู้นี้ถูกเรียกว่า Mysterious Lady หรือ “สตรีผู้ลึกลับ” เพราะไม่แน่ใจว่าเธอเป็นใครและตายด้วยสาเหตุใดในวัย 20 ปีเมื่อช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช แต่การศึกษาใหม่ ทีมวิจัยพบว่าสตรีผู้นี้น่าจะเสียชีวิตช่วง 26-30 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทว่าทารกในครรภ์ถูกรักษาไว้ในขณะที่ยังอยู่ในมดลูกโดยไม่ได้ถูกแตะต้อง ทารกในครรภ์ถูกกระบวนการ “ดอง” เหมือนดองไข่ ด้วยการทำให้ร่างของมารดากลายเป็นกรดหลังจากที่เธอเสียชีวิต ทีมวิจัยเผยว่าการใช้คำว่า “ดอง” อาจไม่ใช่การเปรียบเทียบดูดีนัก แต่ก็สื่อแนวคิดที่ว่า ค่าพีเอช (pH) ที่แสดงความเป็นกรด-เบสของสารของเลือดในศพ รวมทั้งสารในมดลูกนั้นลดลงอย่างมาก กลายเป็นกรดมากขึ้น ความเข้มข้นของแอมโมเนียและกรดฟอร์มิกก็เพิ่มขึ้นตามเวลา การเติมด้วยเกลือเคมีอย่างนาตรอน (natron) หรือสารที่ชาวอียิปต์ใช้ในขั้นตอนการหมัก ทำให้อากาศและออกซิเจนยากจะเข้าถึง ร่างของมารดาก็แห้งตามในภายหลัง ส่วนมดลูกที่มีทารกในครรภ์ก็ถูกปิดสนิทเกือบมิด ดังนั้น ทารกในครรภ์จึงอยู่ในสภาพที่เทียบได้กับการอนุรักษ์ร่างโบราณไว้ในหนองน้ำ

การค้นพบนี้ทำให้นักวิจัยตื่นตะลึงอ้าปากค้างไปตามๆกัน และนำไปสู่การคาดเดาว่าบรรดามัมมี่หญิงที่เป็นสมบัติตามพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกจะมีกรณีที่เหมือนกับมัมมี่หญิงตนนี้หรือไม่.

...

(ภาพประกอบ Credit : Warsaw Mummy Project)