อาคารสาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่งอาจซับซ้อนจนไม่อาจระบุด้วยแผนที่ได้อย่างแม่นยำ และความจำเป็นของการทำแผนที่ในกรณีฉุกเฉินนั้นเห็นได้ชัดเมื่อโลกเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 เรื่องนี้สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการทำแผนที่ในร่ม 3 มิติ นักวิจัยมองว่าแผนที่ดิจิทัลของพื้นที่ภายในอาคารจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยในการเดินทางเสมือนจริง รวมถึงการตัดสินใจด้านอสังหาริมทรัพย์โดยไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวพบกันจริง

ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยตเว็นเตอในเนเธอร์แลนด์ ได้พัฒนาระบบแผนที่ในร่มแบบ 3 มิติที่สวมใส่ได้คล้ายกระเป๋าเป้สะพายหลัง เรียกว่า ITC-Backpack สามารถทำแผนที่ภายในอาคารที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดสูงได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ระบบของ ITC-Backpack จะสแกนตรวจจับด้วยแสงแบบ 2 มิติพร้อมกับแนวขอบเขต ด้วยการใช้เทคโนโลยีไลดาร์ (LiDAR) ที่ใช้แสงเพื่อตรวจจับและคาดคะเนระยะทางของวัตถุ โดยติดตั้งเป็นจำนวน 3 เครื่อง และติดตั้งหน่วยตรวจวัดการเคลื่อนไหวภายใน (Inertial Mea surement Unit) ซึ่ง ITC-backpack จะใช้อัลกอริธึมการแปลและกระบวนการระบุตําแหน่งในการสร้างแผนที่ขึ้นมา

ทั้งนี้ ระบบแผนที่แบบสะพายเป็นกระเป๋าเป้ได้นำไปทดสอบกับสภาพแวดล้อมสาธารณะในร่มหลายแห่งที่มีความซับซ้อนหลายระดับ เช่น ในอาคาร Institute of Geodesy and Photogram metry ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ชไวก์ในเยอรมนี รวมถึงอาคารหลายหลังที่มหาวิทยาลัยตเว็นเตอเอง.

(ภาพประกอบ Credit : University of Twente)