ก็เพราะคนรุ่นใหม่กระหายในความสำเร็จชั่วข้ามคืน อยากดังไวและรวยเร็ว นอกจากจะเลือกทำงานที่ชอบและอาชีพที่ใช่แล้ว พวกเขายังใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองตั้งแต่ยังเอ๊าะๆ ปลุกให้เกิดกระแสใหม่ “เถ้าแก่วัยรุ่น Teenpreneurs” คึกคักไปทั่วทุกมุมโลก แข่งกันสร้างตำนานวัยรุ่นร้อยล้านให้ลือลั่น
ด้วยความที่คนรุ่นใหม่เติบโตมากับเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มีกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ตอัพเป็นของตนเองตั้งแต่ยังเอ๊าะๆ เพราะขืนรอเรียนจบมหาวิทยาลัยก่อน อาจไล่ตามความฝันไม่ทัน
...
กระแส “เถ้าแก่วัยรุ่น Teenpreneurs” กำลังเป็นที่จับตาจากทั่วโลก เพราะมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจากรายงานของ “Global Entrepre neurship Monitor” และ “UNDP” พบว่า ธุรกิจเกิดใหม่ที่เริ่มต้นโดยเยาวชนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 18-34 ปี จากกลุ่มประเทศเอเชีย- แปซิฟิก มีสัดส่วนระหว่าง 2.8-18.9% ซึ่งนับว่าสูงกว่าธุรกิจใหม่ๆ ที่เริ่มต้นโดยผู้ใหญ่วัยกลางคน ขณะที่ผลการศึกษาของ “Harvard Business Review” บ่งชี้ว่าช่วงอายุของ
ผู้ประกอบการสตาร์ตอัพมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
ปัจจัยสำคัญหนุนส่งให้อนาคตของ “Teenpreneurs” เติบโตได้รวดเร็วในหลายประเทศ ต้องยกเครดิตให้กับความรุดหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าสมัยก่อนหลายเท่าตัว เรียกว่านึก อยากทำอะไรแค่เสิร์ชหาในอินเตอร์เน็ตก็มีคำตอบหมด ที่สำคัญการผุดขึ้นของ “เถ้าแก่เจน Z” ยังเกิดจากนิสัยกระตือรือร้น, กล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ, มีไอเดียสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร และสามารถรับความเสี่ยงได้สูง ด้วยความที่พวกเขาโตมากับเทคโนโลยีและความผันผวนทางเศรษฐกิจ จึงปรับตัวได้เก่งและมีความยืดหยุ่นสูงกว่าคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
...
...
เทรนด์นี้ไม่ได้มาเล่นๆชั่วครั้งชั่วคราว แต่ยังได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหัวทันสมัย ทั้งช่วยปูองค์ความรู้, สนับสนุนเงินทุนสร้างฝัน ตลอดจนสร้างสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายทางธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อให้เอื้อต่อการแตกหน่อของสตาร์ตอัพรุ่นใหม่
...
“เถ้าแก่วัยรุ่น” จำนวนไม่น้อยสามารถสร้างสรรค์นวัต กรรมเจ๋งๆให้กับวงการอุตสาห กรรมโลกได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สตาร์ตอัพวัยทีนชาวมะกัน “เอรินสมิธ” ก่อตั้ง “FacePrint” ตั้งแต่อายุ 15 ปี ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโปร แกรมระบบการจดจำใบหน้า เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยของโรคพาร์กินสัน โดยได้รับทุนสนับ สนุนจาก “มูลนิธิไมเคิล เจ. ฟอกซ์” ของนักแสดงรุ่นใหญ่ “ไมเคิล เจ. ฟอกซ์” ที่ทุกข์ทรมานเพราะโรคพาร์กินสันมาครึ่งค่อนชีวิต และได้ก่อตั้งมูลนิธินี้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยพาร์กินสันในอเมริกา
สำหรับเยาวชนไทยที่มีฝัน ก็มีผู้ใหญ่ใจดีจากหลายเวที อาทิ “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ” (NIA) เปิดกว้างให้การสนับสนุนสตาร์ตอัพวัยรุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมปลุกปั้นสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ ใครมีไอเดียสร้างสรรค์ดีๆสามารถขอทุนสนับสนุนไปพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริง
อายุน้อยก็ทำธุรกิจสตาร์ตอัพได้ ไม่ต้องรอให้แก่ก่อนค่อยเป็นเจ้าของกิจการ!!