ในปี พ.ศ.2560 นักวิจัยจากสถาบันมักซ์ พลังค์ ที่ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์มนุษย์ ในเยอรมนี ได้ค้นพบซากเนื้อเยื่อที่ยังมีสภาพดีพอจาก 3 ซากมัมมี่ที่พบในแหล่งโบราณคดีชื่ออบูเซียร์ เอล-เมเลค (Abusir el-Meleq) ตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงไคโรแห่งอียิปต์ ซึ่งการวิจัยก่อนหน้าชี้ว่ามัมมี่เหล่านี้ถูกฝังในช่วง 1,380 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 425

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยสามารถจัดลำดับพันธุกรรมของมัมมี่ทั้ง 3 ได้ และพบว่าบุคคลทั้งหมดเป็นเพศชาย แต่ในความพยายามครั้งใหม่เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลจากการจัดลำดับพันธุกรรมในครั้งนั้น ร่วมกับเครื่องมือที่เรียกว่าสแนปช็อต (Snapshot) จากทีม Parabon Nanolabs ซึ่งช่วยทำนายลักษณะทางสัณฐานวิทยาใบหน้าภายนอกจากสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้สามารถกำหนดลักษณะใบหน้าได้ตามโครงสร้างกระดูก สีผม สีผิว กระ จนสร้างใบหน้าของ 3 มัมมี่อียิปต์โบราณในรูปแบบดิจิทัลได้

ผลงานที่ได้มานี้ทำให้รู้ว่ามัมมี่ทั้ง 3 เคยเป็นชายหนุ่มที่มีสีผิวเหมือนชาวเมดิเตอร์ เรเนียนยุคปัจจุบัน หรือชาวตะวันออกกลางที่มีดวงตาสีน้ำตาลเข้ม นอกจากนี้ ยังเชื่อได้ว่าชาวอียิปต์โบราณทั้ง 3 คนนี้มีอายุประมาณ 25 ปี ตอนที่พวกเขาเสียชีวิต.