ตามที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ.2564 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เป็น สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย

พรพล เอกอรรถพร พร้อมนำองค์กรก้าวสู่ยุคใหม่
พรพล เอกอรรถพร พร้อมนำองค์กรก้าวสู่ยุคใหม่

ทั้งนี้ นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เปิดเผยว่า sacit จะมีภารกิจในการดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืนในฐานะองค์กรหลักในการดูแลและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยทั้งระบบ เพื่อสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ก้าวไกลสู่สากล และสร้างความยั่งยืนให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย โดยได้ดำเนินการพัฒนาแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี พ.ศ. 2563-2565 ส่วนเพิ่มปี พ.ศ.2566 และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2565 ทั้งในส่วนกระบวนการ/เครื่องมือ/ตัวชี้วัดการประเมินผล และค่าเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายรายปี และเป้าหมายสิ้นสุดของแผนยุทธศาสตร์ และนำเสนอรูปแบบ และ/หรือบทบาทการดำเนินงานของ sacit ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต โดยทำการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา ศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ประเมินความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มในอนาคตของงานศิลปหัตถ กรรมไทย รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางสนับสนุนของภาครัฐ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย รัฐบาล และแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพาณิชย์

...

นายพรพลกล่าวเสริมว่า เมื่อพิจารณาพันธกิจอำนาจหน้าที่ของ sacit พบว่า มีความสอด คล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง สังคม และด้านการ สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การสร้างแผนยุทธศาสตร์ องค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การตลาดบูรณาการงานศิลปหัตถกรรมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยและผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สืบสาน ส่งเสริมคุณค่า และเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ อย่างไรก็ดี แม้ประเด็นยุทธศาสตร์ของ sacit นั้นจะมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในหลากหลายประเด็น

แต่ sacit ยังคงต้องรับฟังความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ที่มุ่งหวังให้บทบาทของ สศท.ส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งรอบด้าน ตลอดจนเดินหน้าสืบสาน อนุรักษ์ความเป็นพหุปัญญาของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ของ งานด้านศิลปหัตถกรรม ไทย เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ ที่สนับสนุนการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และการสร้าง งานในกลุ่มงานฝีมือ และงานหัตถกรรมให้กับประชากรไทยด้วย

รักษาการ ผอ. sacit กล่าวว่า แม้ผลประเมินความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มในอนาคตของงานศิลปหัตถกรรมไทยยังคงพบอุปสรรคในมิติต่างๆ และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทย ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาช่วย ทั้งการผลิต การจัดจำหน่าย การส่งออกสินค้า เน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และมีเอกลักษณ์ประจำชาติก่อให้เกิดการขยายตัวทางการตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นทิศทางที่ดี ที่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ประเทศ ไทยก้าวข้ามปัญหาทางเศรษฐกิจได้.

...

...