นิว ฮอไรซันส์ (New Horizons) ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ ถูกส่งด้วยความเร็ว 58,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อ 19 ม.ค.2549 กลายเป็นยานอวกาศลำที่ 5 ที่ไปถึงพื้นที่อันไกลโพ้นของระบบสุริยะของเรา ตามรอยยานอวกาศระดับตำนานทั้ง วอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 รวมถึงยานอวกาศรุ่นก่อนๆ อย่าง ไพโอเนียร์ 10 และ 11
กว่า 15 ปีที่ยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ทำผลงานที่น่าทึ่งหลายอย่าง ช่วยให้สามารถสร้างมุมมองที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของวงแหวนที่จางหายไปของดาวพฤหัสบดี ถ่ายภาพภูเขาไฟที่ปะทุขึ้นที่ใดก็ได้ในระบบสุริยะยกเว้นก็แต่โลกของเรา นิว ฮอไรซันส์ ประสบความสำเร็จในการสำรวจระบบดาวพลูโตครั้งแรกในเดือน ก.ค.2558 ตามด้วยการบินผ่านระยะไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ที่แถบไคเปอร์ และบินผ่านวัตถุน้ำแข็งอาร์โรคอธ (Arrokoth) ในระยะใกล้เป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ.2562
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลโครงการนิว ฮอไรซันส์ ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ เช่น กล้องโทรทรรศน์ซูบารุของญี่ปุ่น สแกนท้องฟ้าดูยานนิว ฮอไรซันส์ พบว่ายังอยู่ดีและกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลมสุริยะรวมถึงสภาพแวดล้อมอวกาศในแถบไคเปอร์และอื่นๆ วัตถุในแถบไคเปอร์ ไปจนถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกล เช่น ยูเรนัส เนปจูน ในฤดูร้อนนี้ทีมจะส่งการอัปเกรดซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนิว ฮอไรซันส์ สำหรับการสำรวจในอนาคต และแบตเตอรี่นิวเคลียร์ของยานอวกาศน่าจะให้พลังงานเพียงพอที่จะให้นิว ฮอไรซันส์ปฏิบัติงานได้จนถึงปลายทศวรรษที่ 2030.
(ภาพประกอบ Credit : NASA/JHUAPL/SwRI)