หากคุณเป็นผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขาย หรือประสบปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องทราบถึงสิทธิ์การร้องเรียน สคบ. ออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่ร้องเรียนได้ง่ายๆ จากที่บ้าน วันนี้ไทยรัฐออนไลน์พาคุณมาเรียนรู้วิธีการร้องเรียน สคบ. ผ่านช่องทางนี้ไปพร้อมๆ กัน

ข้อมูลจาก สคบ. ในปี 2020 ระบุว่า เดือนแรกของปีมีเรื่องราวที่ถูกฟ้องร้องมากที่สุด คือ เรื่องการเช่าซื้อรถยนต์ใหม่และรถมือสอง รวมถึงการถูกยึดรถนั่นเอง รองลงมาคือ เรื่องประกันชีวิต ตามมาด้วยการซื้อของออนไลน์ไม่ตรงปก

ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ที่เริ่มต้นมีโควิด-19 ระบาด การร้องเรียนสูงสุดคือเรื่องบริษัททัวร์

ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นความไม่เป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ ก็สามารถร้องเรียนได้กับ สคบ. ออนไลน์ แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่เป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของศาล

สคบ. ร้องเรียนอะไรได้บ้าง

ก่อนจะร้องเรียนกับ สคบ. ออนไลน์ ต้องเตรียมเอกสาร 3 อย่าง ดังนี้

1. ไฟล์ภาพ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นสำเนาถูกต้อง
2. ชื่อสกุล หรือชื่อผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมที่อยู่ที่ติดต่อได้ ของผู้ที่ทำให้คุณเสียหาย
3. ไฟล์เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเสร็จ, แคปภาพจากสื่อโฆษณาชวนเชื่อ, สลิปการโอนเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง

สคบ. แนะนำเตรียมเอกสารก่อนคลิกร้องเรียนให้ครบถ้วน
สคบ. แนะนำเตรียมเอกสารก่อนคลิกร้องเรียนให้ครบถ้วน

...


และต้องทราบก่อนว่า มี 8 กรณีที่ไม่สามารถร้องเรียนผ่าน สคบ. ออนไลน์ได้

1. เป็นเรื่องที่คุณได้ไปดำเนินคดีที่ศาลแล้ว
2. เป็นคดีความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแล้ว
3. เป็นเรื่องที่คุณไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตัวเอง และ สคบ. บังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว
7. เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลาย
5. เป็นเรื่องที่สิ้นสุดอายุความแล้ว
6. เนื้อหาสาระร้องทุกข์ไม่มีความชัดเจน เอกสารไม่ครบถ้วน
7. เป็นเรื่องที่ สคบ. ได้ดำเนินการเรียกผู้ร้องทุกข์มาชี้แจงแล้ว แต่ผู้ร้องทุกข์ไม่มา และไม่ส่งเอกสารมาชี้แจง
8. ต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง “ผู้บริโภค” กับ “ผู้ประกอบธุรกิจ” เท่านั้น

สรุปคือ หากเป็นเหตุที่เกิดจาก “บุคคลฟ้องบุคคล” หรือ “ธุรกิจฟ้องธุรกิจ” จะอยู่นอกเหนืออำนาจของ สคบ.

ตัวอย่างประเภทการร้องทุกข์ ผ่านช่องทาง สคบ. ออนไลน์

เมื่อลองคลิกเรื่อง “บริการ” เข้าไปดูก็พบว่ามีหัวข้อให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ประกันชีวิต, รถเช่า, บริการสปา, ขนส่งการเดินทาง, การศึกษานอกโรงเรียน, ร้านสะดวกซื้อ, รีสอร์ต, โรงแรม, ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า, บัตรเครดิต ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูก

ร้องเรียนด้านบริการ กับ สคบ. ออนไลน์
ร้องเรียนด้านบริการ กับ สคบ. ออนไลน์

ขั้นตอนร้องเรียน สคบ. ออนไลน์

ไทยรัฐออนไลน์แนะนำว่าก่อนที่คุณจะเข้าไปกรอกเนื้อหาในการร้องเรียน สคบ. ออนไลน์ ให้คุณสร้างไฟล์เอกสาร แล้วบรรยายเรื่องราวร้องทุกข์ให้เข้าใจง่าย กระชับ

สคบ. ออนไลน์ ร้องเรียนอะไรได้บ้าง
สคบ. ออนไลน์ ร้องเรียนอะไรได้บ้าง

และปรับขนาดภาพที่จะอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ให้พอดี เพราะมีช่องให้อัปโหลดเอกสารจำนวนมาก เช่น หนังสือสัญญา, ฉลากสินค้า, หลักฐานการลงบันทึกประจำวัน, สำเนาบัญชีธนาคาร, สำเนากรมธรรม์, สำเนาใบแจ้งหนี้ และอื่นๆ

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://complaint.ocpb.go.th
2. ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน และขอรหัสผ่าน
3. Log In เข้าสู่หน้าร้องทุกข์ออนไลน์
4. เลือกประเภทการร้องทุกข์ ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ 2) สินค้า และ 3) บริการ
5. กรอกหัวเรื่องการร้องเรียน
6. ใส่รายละเอียดการร้องเรียนให้ครบถ้วน
7. อัปโหลดไฟล์เอกสารที่รวบรวมมาได้ให้มากที่สุด
8. เข้ามากดติดตามเรื่องทุกวัน หรือกดยุติการร้องเรียนได้ในภายหลัง

...

เอกสารใช้ประกอบการร้องเรียน สคบ.ออนไลน์
เอกสารใช้ประกอบการร้องเรียน สคบ.ออนไลน์

เมื่อคุณอัปโหลดเอกสาร และกดยืนยันเรื่องทั้งหมดแล้ว ควร Log In เข้ามาติดตามเคสทุกวัน บางเคสจะได้รับนัดไกล่เกลี่ยกันให้พบกับคู่กรณีตามที่ สคบ. กำหนด หรือใช้วิธี ไกล่เกลี่ยออนไลน์ ด้วยระบบของ สคบ. โดยเฉพาะกรณีซื้อของไม่ตรงปก หรือจองรถยนต์ใหม่ และกู้บ้านไม่ผ่าน จะเป็นเคสแรกๆ ที่ไกล่เกลี่ยออนไลน์ได้ ทั้งสองฝ่ายจะได้รับนัดผ่านทาง Email และ SMS

ข้อดีของการใช้บริการร้องเรียนผ่าน สคบ. ออนไลน์

จุดเด่นของระบบ สคบ. ออนไลน์ คือทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องเผชิญหน้ากันโดยตรง ทำให้แต่ละฝ่ายมีเวลาตัดสินใจ เพื่อที่จะต่อรองกันได้ รวมถึงประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง เพียงแค่แต่ละฝ่าย มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อพูดคุยไกล่เกลี่ยกันตามเวลาที่นัดหมาย เรื่องก็จะจบเร็วขึ้น


หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมเบอร์สายด่วน Call Center สคบ. โทร. 1166

...

อ่านเพิ่มเติม :