มิตซูบิชิ เป็นหนึ่งในคำภาษาญี่ปุ่นที่คนไทยติดหูกันมานานตั้งแต่รุ่นปู่ย่า อย่างที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อยี่ห้อของเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เบื้องลึกลงไปกว่านั้น การที่ชื่อนี้ยังคงติดหูผู้คนนับเป็นความหมายของความสำเร็จในแวดวงอุตสาหกรรมตั้งแต่หลังยุคการปฏิรูปเมจิ (ช่วงปี 1870 ที่ก่อตั้งบริษัท) ซึ่งยาวนานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เราขอพาคุณกลับไปเดินทางในประวัติศาสตร์ของมิตซูบิชิร่วมกัน เพื่อค้นหาว่า อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้แบรนด์นี้ยังคงติดอยู่ในใจพวกเรามาโดยตลอด?
เล่าย้อนไปถึงช่วงยุคการปฏิรูปเมจิ เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศญี่ปุ่น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนของประเทศ ไม่เพียงแต่ในด้านการปกครอง แต่ยังรวมถึงการก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดดของญี่ปุ่น เช่นเดียวกันกับอิวะซะกิ ยาทาโร่ (Iwasaki Yataro) ลูกชายจากครอบครัวชาวนาที่มุ่งมั่นทำงานจนสามารถซื้อคืนสถานะซามูไรที่ปู่ทวดขายไปเพื่อใช้หนี้กลับคืนมาได้ เขาเติบโตมั่งคั่งในฐานะหัวหน้ากลุ่มการค้าในแคว้นโทซะ (หรือปัจจุบันคือจังหวัดโคจิ) จนก่อตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นในเดือนมีนาคม 1870 ในนาม Tsukumo Shokai โดยเริ่มต้นจากการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพาณิชย์นาวี
หากพูดถึงมิตซูบิชิ อีกสิ่งที่ติดตาคือโลโก้ข้าวหลามตัดสามแฉกที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มก่อตั้ง โดยยาทาโร่ได้นำตราประจำตระกูลของตัวเองมารวมกับตราประจำตระกูลยามาอุจิ ซึ่งเป็นตระกูลไดเมียว เจ้าครองแคว้นโทซะในตอนนั้น จนกลายเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่จดจำจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า Mitsubishi เป็นการผสมกันระหว่างคำว่า Mitsu ที่แปลว่า สาม และ Hishi ที่แปลว่า ผลแห้ว ซึ่งคำว่า Hishi เองเป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้แสดงถึงรูปทรงเพชร จึงกลายมาเป็นที่มาของเพชร 3 เม็ดในโลโก้ของมิตซูบิชิ
ในปี 1874-1875 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ว่าจ้างยาทาโร่ให้ดำเนินธุรกิจการขนส่งกองทัพทหารญี่ปุ่นและยุทโธปกรณ์ รวมทั้งให้การสนับสนุนการลำเลียงกองกำลังเพื่อต่อต้านกบฎซัตสึมะจนสำเร็จในปี 1877 และดำเนินกิจการธุรกิจอู่ต่อเรือนางาซากิ จนเป็นบริษัทที่สามารถต่อเรือขนาดใหญ่ได้ จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Nagasaki Shipyard & Machinery Works ในปี 1884
หลังจากนั้นเพียง 1 ปี ยาทาโร่ก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานต่อก็คือ อิวะซะกิ ยะโนซุเกะ น้องชายของเขา ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียวและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย หลังจากการขึ้นเป็นประธานของยะโนสุเกะ บริษัทเองก็มีการขยายกิจการไปทำธุรกิจเหมืองแร่ อู่ต่อเรือ และธนาคารเพิ่มเติม พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น “Mitsubishi-sha” และแตกไลน์การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหนักเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนชื่อไปตามธุรกิจหลักในตอนนั้น เช่น Mitsubishi Shipbuilding ในปี 1917 แต่คำว่า Mitsubishi ยังคงอยู่แม้บริษัทจะเติบโตและขยายกิจการสู่อุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น
มิตซูบิชิเริ่มก้าวเข้าสู่แวดวงเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 1921 จากการเพิ่มไลน์บริษัทในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วจึงเข้าสู่การจัดการผลิตอุตสาหกรรมหนักแบบครบวงจรอย่างเต็มตัวในปี 1934 พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อองค์กรเป็น บริษัท Mitsubishi Heavy-Industries จำกัด ในช่วงเวลาก่อนการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียง 5 ปี และยังคงใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นการผลิตจากกระบวนการอุตสาหกรรมหนักอย่างครบวงจร และแม้จะเคยมีการกระจายองค์กรออกสู่ในระดับภูมิภาคในปี 1950 ได้แก่ West Japan, Central Japan และ East Japan ท้ายที่สุดก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี 1964 ในชื่อ Mitsubishi Heavy Industries และใช้ชื่อนี้ดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน
สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน Mitsubishi Heavy Industries นับเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตสินค้าหลากหลายครอบคลุมทั้งภาคพื้นดิน ทะเล อากาศ และอวกาศ กว่า 700 ประเภท โดยนับเป็นบริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรมหนักชั้นนำระดับนานาชาติที่ผลิตสินค้าส่งออกทั่วโลกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงาน, เครื่องบินพาณิชย์, อวกาศ, อุตสาหกรรมเรือ, การเดินทางและการขนส่ง, และเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ พร้อมกับการแตกไลน์การผลิตย่อยๆ ออกมา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เหมืองแร่ การธนาคาร โดยยังคงเอกลักษณ์ของการทำอุตสาหกรรมหนักครอบคลุมทุกประเภทเช่นเดียวกับที่ Mitsubishi ทำมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน
ความสำเร็จทั้งหลายตลอดระยะเวลา 150 ปี เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จและความก้าวหน้าของการเป็นนวัตกรผู้ค้นหาและวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการใช้ชีวิตอย่างครบวงจร พิสูจน์ได้จากเรื่องรอบตัวของพวกเราเองที่ข้องเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในทุกวินาทีของชีวิต และ Mitsubishi Heavy Industries ก็มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่มอบทางเลือกที่สะดวกสบายและชาญฉลาดให้กับผู้บริโภคเสมอมา
ปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศนับเป็นปัจจัยที่ห้าในชีวิตของคนไทยเขตร้อน ที่มีความต้องการอากาศเย็นตลอดทั้งปี ทางมิตซูบิชิ เฮฟวี ดิวตี้ เองก็ได้วิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศรุ่นเย็นบนพื้นที่อยู่สบายล่าสุดอย่าง Standard Inverter : YW Series เครื่องปรับอากาศระบบ Inverter ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มาพร้อมกับขนาด 9,000 – 24,000 Btu/h ตามมาตรฐานสากล เพิ่มเติมคือมีรุ่น 15,000 Btu/h ที่เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคนำไปใช้งานในลักษณะของพื้นที่ต่างๆ อีกด้วย Standard Inverter : YW Series ถูกพัฒนาด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ 100% ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ 4 ชิ้นส่วนที่ออกแบบมาสำหรับการประหยัดพลังงานโดยเฉพาะ จากระบบการทำงานของแผงวงจรอัจฉริยะ PAM, มอเตอร์และคอมเพรสเซอร์กระแสตรง พร้อมกับ EEV ระบบควบคุมการไหลของสารทำความเย็น โดยจะมีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิภายในห้องก่อนส่งไปยังแผงวงจร เพื่อคำนวณค่าอุณหภูมิ การทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ เฮฟวี ดิวตี้ ที่ประสานกันทั้งหมด จึงทำให้อากาศภายในห้องจึงเย็นสม่ำเสมอ รักษาอุณหภูมิได้อย่างคงที่และแม่นยำ เหมาะกับการใช้ชีวิตและอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายและเต็มประสิทธิภาพ การันตีว่าทนอึด เปิด 24 ชั่วโมง ติดต่อกันได้นาน 5 ปี จ่ายครั้งเดียวก็ทนเกินคุ้ม