คำถามที่ว่า “อายุเท่าไรแล้ว?” “เงินเดือนเท่าไร?” “แต่งงานหรือยัง?” หรือแม้กระทั่ง “มีทรัพย์สินอะไรเป็นของตัวเองบ้างหรือยัง?” ดูจะเป็นคำถามหลักๆ ที่ผู้หญิงไทยต้องคอยตอบคำถามเหล่านี้จากคนรอบข้าง สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยนั้นลึกๆ แล้วมีความคาดหวังกับการใช้ชีวิตของผู้หญิงในทุกช่วงอายุ

โดยเฉพาะในวัยที่ขึ้นเลข “3” ซึ่งเป็นวัยที่ผู้หญิงจะโดนจับตามอง และถูกกดดันเรื่องแต่งงานมากเป็นพิเศษ พร้อมกับคำต่อท้ายที่ว่า “ถ้ายังไม่ได้แต่งให้รีบแต่งซะ เพราะไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะขึ้นคาน”

พบว่า 86 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงไทยรู้สึกไม่ยุติธรรมที่สังคมได้ตั้งความคาดหวังในตัวพวกเธอ โดยตัดสินจาก “ช่วงอายุ”

กว่า 94 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง ในช่วงอายุ 25 - 30 ปี ยอมรับว่า ต้องเผชิญกับความคาดหวังจากคนรอบข้างให้พวกเธอมีอาชีพการงานที่มั่นคง พร้อมสภาพทางการเงินที่คล่องตัว นอกจากนี้ผู้หญิงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ยังถูกคาดหวังให้มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงในช่วงอายุนี้อีกด้วย

...



ขณะที่วัย 30 คือช่วงอายุที่ผู้หญิงรู้สึกว่าตัวเองถูกสังคมคาดหวังและจับตามองมากเป็นพิเศษในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแต่งงานมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ที่มีมากถึงกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยความคาดหวังที่ต้องรีบมีลูกหลังแต่งงาน กว่า 64 เปอร์เซ็นต์


จะเห็นได้ว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องเผชิญกับความคาดหวังจากสังคมและคนรอบข้างในทุกช่วงอายุ ส่งผลให้ผู้หญิงกว่าครึ่งประเทศมีความกลัวในเรื่องของอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะรู้ดีว่าอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นมาพร้อมกับความคาดหวังจากคนรอบข้าง ซึ่งพอมองย้อนไปแล้ว ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องปล่อยให้อายุและความคาดหวังจากสังคมมามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตได้ แทนที่จะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ

หรือมันถึงเวลาแล้ว ที่ผู้หญิงไทยจะลุกขึ้นมาเอาชนะความกลัวและความคาดหวังของสังคมที่ใช้อายุเป็นตัวกำหนด??