โรคเบาหวานอาจฟังดูไม่ร้ายแรงเท่าโรคหัวใจหรือโรคเรื้อรังอื่นๆ แต่ความจริงแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานถึง 3 เท่า

บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเสวนา “แพทย์ชวนคุย เบาหวานอย่าเบาใจ ดูแลและประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดตามคำแนะนำของแพทย์” โดยมี รศ. นพ. ธาดา คุณาวิศรุต อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลศิริราช และ นายนิธิ คงทน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เจ้าของช่องติ๊กต๊อก แด๊ดดี้สายเบาหวาน ร่วมให้ข้อมูล เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ป่วยเบาหวานเห็นถึงความสำคัญของการเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนอันดับ 2 ของผู้ป่วยเบาหวาน พร้อมเผยสถิติที่น่าสนใจ อาทิ

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock
  • ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสหรือมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 3 เท่า
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยชาย โดยเพศหญิงมีความเสี่ยง 3.5 เท่า ในขณะที่เพศชายมีความเสี่ยง 2.1 เท่า

...

รศ.นพ. ธาดา คุณาวิศรุต อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อกล่าวว่า โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคเรื้อรัง ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยอาจเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในระดับน้ำตาลในเลือดและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ปัจจุบันคนไทยเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 12.4 สำหรับคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในอนาคตจะพบผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น

รศ.นพ. ธาดา คุณาวิศรุต อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลศิริราช
รศ.นพ. ธาดา คุณาวิศรุต อายุรศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลศิริราช

“โรคเบาหวานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม การเสื่อมของระบบประสาท และปัญหาด้านสายตา การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสมเป็นวิธีในการจัดการโรคเบาหวานเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน

โรคเบาหวานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม (ภาพจาก iStock)
โรคเบาหวานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม (ภาพจาก iStock)

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็น 1 ในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากขึ้น และภาวะหัวใจล้มเหลวส่งผลต่อการเสียชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวคือโรคเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้น 2-5 เท่า เราจึงควรให้ความสำคัญกับภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยเบาหวาน อาการของหัวใจล้มเหลวได้แก่ การออกกำลังได้น้อยลงเพราะเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ขาบวม เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิน รศ.นพ. ธาดา คุณาวิศรุต กล่าว

...

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

รศ.นพ. ธาดา คุณาวิศรุต อธิบายเพิ่มเติมว่า การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ X-ray ทรวงอก การตรวจ Echocardiogram หรือเรียกสั้นๆ ว่า Echo เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวนด์) เพื่อประเมินการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ และการตรวจเอ็นที-โปรบีเอ็นพี หรือ NT-proBNP (N-terminal pro-B-type natriuretic peptide) ซึ่งเป็นการตรวจโดยการเจาะเลือดที่แขนเพื่อใช้ในการประเมินภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วย

การตรวจ NT-proBNP ช่วยวินิจฉัยหรือแยกแยะภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ที่มีอาการหายใจสั้น เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหัวใจล้มเหลว (ภาพจาก iStock)
การตรวจ NT-proBNP ช่วยวินิจฉัยหรือแยกแยะภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ที่มีอาการหายใจสั้น เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหัวใจล้มเหลว (ภาพจาก iStock)

...

การตรวจเอ็นที-โปรบีเอ็นพี หรือ NT-proBNP เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวน่าจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากสามารถช่วยตรวจหาภาวะหัวใจล้มเหลวในระยะแรกเพราะผู้ป่วยยังไม่มีอาการ นอกจากนี้ NT-proBNP ยังมีประโยชน์ในการติดตามการรักษาเพื่อที่จะได้เปลี่ยนแปลงการรักษาให้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถใช้ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้นในการประเมินสุขภาพของหัวใจ

ด้าน นายนิธิ คงทน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเจ้าของช่องติ๊กต๊อก แด๊ดดี้สายเบาหวาน กล่าวว่า นอกจากการดูแลตนเองออกกำลังกาย ควบคุมน้ำตาลและอาหาร รวมทั้งการปรับไลฟ์สไตล์อย่างเคร่งครัดแล้ว การพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการป่วยมาเป็นระยะเวลานาน มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และมีอาการผิดปกติทางหัวใจ เพื่อให้สามารถตรวจพบอาการผิดปกติต่างๆ ได้แต่เนิ่นๆ ทำให้สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

นายนิธิ คงทน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  และเจ้าของช่องติ้กต่อก แด๊ดดี้สายเบาหวาน
นายนิธิ คงทน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเจ้าของช่องติ้กต่อก แด๊ดดี้สายเบาหวาน

...

“เบาหวานไม่ใช่โรคของคนเพียงคนเดียว แต่เป็นโรคของคนทั้งครอบครัว เพราะเมื่อมีคนหนึ่งคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวานจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของทุกคนในบ้าน ดังนั้น สำหรับผมถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่ปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการตรวจ NT-proBNP เพราะมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ การตรวจไม่ยุ่งยาก เพียงเจาะเลือดที่แขนไปตรวจ และรอผลประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งมองว่าเป็นการตรวจที่คุ้มค่า เพราะทำให้เกิดความตระหนัก หากเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยจะได้เข้ารับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางได้อย่างทันท่วงที นอกจากนั้นยังสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลที่ถูกต้องได้ ก่อนจะเกิดอาการวิกฤติและเสียชีวิต” นายนิธิ คงทน กล่าวเสริม พร้อมย้ำว่าผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่เสมอ

ภาพ : iStock