“Premenstrual Syndrome (PMS)” เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์จิตใจ โดยที่ไม่ได้มีปัญหาด้านร่างกาย หรือมีโรคประจำตัวทางด้านจิตใจมาก่อน โดยอาการนี้จะเกิดก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ เช่น เจ็บเต้านม ท้องอืด น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ ตัวบวม สิว ท้องผูก ท้องเสีย

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรค Premenstrual Syndrome (PMS) นี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่จากการศึกษาหลายฉบับที่ผ่านมากล่าวไว้ว่า การที่ระดับของฮอร์โมนอีสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงของรอบเดือน จึงไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการมีอาการ PMS

อัตราการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนไม่เกี่ยวข้องกับอายุ เชื้อชาติ หรือสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการก่อนมีประจำเดือนมักมีอายุ 30 หรือ 40 ปี

อันตรายและภาวะแทรกซ้อนของอาการ PMS

กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรมหลายอย่าง อาการทางอารมณ์เป็นเหตุผลที่พบบ่อยที่สุดในการเข้ารับการรักษา โดยอาการทางอารมณ์ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า หงุดหงิด กังวล อารมณ์แปรปรวน โกรธ ร้องไห้ง่าย เศร้า อ่อนไหวมาก เครียด

อาการทางกายที่พบบ่อยที่สุด ปวดหัว ท้องอืด ตะคริว เต้านมเจ็บ ไมเกรน อ่อนล้า น้ำหนักขึ้น ปวดเมื่อย ใจสั่น ซึ่งอาการทางอารมณ์อาจเกิดอันตรายได้มากกว่า เช่น เมื่อเกิดร่วมกับภาวะซึมเศร้า

การดูแลตนเอง

การศึกษาความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการ การจัดการความเครียด การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม การพักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายเป็นประจำ

...

การรักษา

สูติ-นรีแพทย์อาจใช้ยากลุ่มยา 2 ประเภทที่มีหลักฐานชัดเจนว่า มีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มผู้หญิงที่มีอาการ moderate-to-severe PMS ได้แก่ กลุ่มยาที่ไปยับยั้งการตกไข่ และกลุ่มยา SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitors)

@@@@@@@@

แหล่งข้อมูล

รศ.ดร.พญ.อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล