ทองแดง คือ แร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดขาว เมตาบอลิซึมของสารสื่อประสาท และต้านอนุมูลอิสระ

ปริมาณทองแดงที่ควรได้รับต่อวัน (ชาย/หญิง แต่ละช่วงอายุ)

อาหารที่มีทองแดง ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้ง เห็ด โกโก้ และเชอร์รี่

โมลิบดีนัม คือ แร่ธาตุที่เป็นตัวร่วม (cofactor) ในการทำงานกับเอนไซม์ในร่างกาย

ปริมาณโมลิบดีนัมที่ควรได้รับต่อวัน (ชาย/หญิง แต่ละช่วงอายุ)

...

อาหารที่มีโมลิบดีนัม ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช และเครื่องในสัตว์

หากร่างกายได้รับแร่ธาตุไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการกินไม่พอ ร่างกายดูดซึมได้น้อย หรือร่างกายมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากภาวะความเจ็บป่วย ทำให้การได้รับแร่ธาตุไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้กระทบต่อการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายบกพร่อง ดังนี้

1. ติดเชื้อได้ง่าย
2. ภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
3. เบื่ออาหาร
4. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
5. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
6. ตะคริว ชาแขนและขา
7. กระดูกและฟันไม่แข็งแรง
8. ระบบการเผาผลาญบกพร่อง
9. พัฒนาการทางสมองล่าช้า
10. ผมร่วง ผิวหนังอักเสบ

@@@@@@@

แหล่งข้อมูล

ดร.วนะพร ทองโฉม นักสุขศึกษา (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ) งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารอ้างอิง
Aliza Sigdel, Srinivas Janaswamy. Micro-Minerals. Scho J Food & Nutr. 2020; 2(5).
คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.

อ่านคอลัมน์ "ศุกร์สุขภาพ" เพิ่มเติม