“แร่ธาตุรอง” หรือปริมาณน้อย (Micro minerals หรือ Trace minerals) คือ แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน แต่มีความสำคัญกับร่างกาย ได้แก่ เหล็ก ไอโอดีน สังกะสี ซีลีเนียม ฟลูออไรด์ ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม โครเมียม

ไอโอดีน คือ แร่ธาตุที่ร่างกายใช้เพื่อการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสมองและระบบประสาท

ปริมาณแร่ธาตุไอโอดีนที่ควรได้รับประจำวันสำหรับกลุ่มบุคคลวัยต่าง ๆ

อาหารที่มีไอโอดีน ได้แก่ สัตว์ทะเล สาหร่ายทะเล เกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน

เหล็ก คือ แร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำออกซิเจนไปยังเซลล์ทั่วร่างกายให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้ได้พลังงาน พัฒนาการทางสมอง ระบบภูมิคุ้มกันและการเจริญพันธุ์

...

ปริมาณเหล็กที่ควรได้รับต่อวัน (ชาย/หญิง แต่ละช่วงอายุ)

อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง และนม

สังกะสี คือ แร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญกับเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายทั้งด้านการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกันและการสืบพันธุ์

ปริมาณแร่ธาตุสังกะสีที่ควรได้รับสำหรับกลุ่มบุคคลวัยต่าง ๆ

อาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์น้ำเปลือกแข็งโดยเฉพาะหอยนางรม สัตว์ปีก และปลา

แหล่งข้อมูล

ดร.วนะพร ทองโฉม นักสุขศึกษา (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ) งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารอ้างอิง

  • Aliza Sigdel, Srinivas Janaswamy. Micro-Minerals. Scho J Food & Nutr. 2020; 2(5).

  • คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.