สมองเสื่อมเป็นสิ่งที่ผู้อายุมากกลัวที่สุดอย่างนึง แค่นึกว่าความสามารถในการจดจำจะหายไป กินข้าวไปรึยัง ยังจำไม่ได้ ความคิด การตัดสินใจ การพูดถดถอย จนวันนึงไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องพึ่งคนอื่นในการใช้ชีวิต

ไม่ว่าจะอาบน้ำ กินข้าว แม้ว่าร่างกายจะยังแข็งแรงก็ตาม

สาเหตุนอกจากความเสี่ยงที่ติดมาตั้งแต่เกิดจากพันธุกรรม ก็ยังมีสภาพแวดล้อม และการใช้ชีวิต ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมบางประเภทมากกว่าประเภทอื่น

ตัวอย่างที่อาจจะมีน้ำหนักของการใช้ชีวิตมากหน่อยคือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะพูดถึงเส้นเลือดฝอยที่ถูกกระทบโดยโรคประจำตัวเช่น ความดันและหรือเบาหวานที่เป็นมานาน ซึ่งอาจจะควบคุมได้ไม่ดี

ทำให้สุดท้ายส่งผลกระทบต่อเนื้อสมองมากพอจนเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ โควิดและวัคซีน เพราะทุกคนได้รับผลกระทบไม่ว่าอย่างใดก็อย่างนึง ซึ่งตอนนี้ทุกคนเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันแล้ว จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าเราจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแบบเดิมซ้ำจริงๆหรือ หรือว่าการกระตุ้นนั้นมีผลดีมากกว่าผลเสียจริงๆรึเปล่า

...

ซึ่งข้อนี้คงต้องให้แต่ละคนพิจารณากันเอง

วัคซีน mRNA มีการศึกษามาหลายสิบปีแล้ว เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ โดยลบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในแบบเดิม ที่ฉีดส่วนใดส่วนนึงของเชื้อ หรือเชื้อที่ได้รับการดัดแปลง แต่เป็นการฉีดรหัสพันธุกรรมเข้าไปเพื่อที่จะให้เซลล์ในร่างกายเรานำไปใช้และผลิตตัวกระตุ้นที่จะมากระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ซึ่งเชื่อว่าสามารถกระตุ้นภูมิได้ดีกว่าวัคซีนแบบเก่า แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากรหัสพันธุกรรมละเอียดอ่อนและเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงและอาจจะทำให้ร่างกายไปสร้างโปรตีนแบบอื่นที่ไม่ได้ต้องการ

จนมาถึงโควิด เป็นวัคซีน mRNA อันแรกในมนุษย์ ได้รับการอนุมัติการใช้ในคนอย่างรวดเร็วแต่ก็คงไม่แปลกที่จะพบผลข้างเคียงต่างๆตามมามากมาย เพราะมนุษย์ได้ถูกนำมาเป็นตัวทดลอง

นั่นรวมถึงหมอเองด้วย

ซึ่งในระหว่างระบาด คงไม่มีตัวเลือกอื่นนักเพราะก็คงยังไม่มีใครรู้ผลข้างเคียงมั้ง แต่ที่สำคัญคือ เมื่อเป็นการทดลองจะต้องมีการติดตามผลข้างเคียง และประสิทธิภาพ ถ้ามีผลข้างเคียงจะต้องรีบแจ้งและให้ผู้รับบริการเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะรับวัคซีนต่อหรือไม่

สิ่งที่จะนำเสนอคือการวิจัยจากประเทศเกาหลี โดยคุณ Jee Hoon Roh และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ใน International Journal of Medicine เดือนพฤษภาคม 2567 โดยมีการเปรียบเทียบข้อมูลทางสุขภาพระหว่างประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิดแบบ mRNA 2 เข็ม เทียบกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีน รวมทั้งหมดหลายแสนคน

พบว่า ใน 3 เดือนแรก ประชาชนที่ได้รับวัคซีนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระยะที่มีความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย (Mild cognitive impairment [MCI]) นั้นมากกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีนถึงสองเท่า

และคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 20%

โดยเมื่อปี 2022 ก็มีการศึกษาที่พบว่าความเสี่ยงอัลไซเมอร์สูงขึ้นหลังติดโควิด ส่วนจะมีตัวแปรอื่นที่ทำให้เห็นผลที่แตกต่างกันขนาดนี้ หรือสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรนั้นตอนนี้คงได้แต่คาดเดา การจะสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนลักษณะนี้ต่อจำเป็นต้องชั่งประโยชน์และโทษเนื่องจากผลกระทบต่อโรคสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ปัญหาของคนคนนึงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่ครอบครัวต้องดูแล บางครั้งอาจจะต้องออกจากงาน

...

พอในวงกว้างย่อมกระทบต่อประเทศอย่างแน่นอน ปัญหาต่อมาคือมันไม่ใช่แต่สมองที่มีผลกระทบ แต่ไม่ต้องไปหาให้เสียเวลาเลยเพราะการศึกษานั้นออกมาค่อนข้างเยอะว่าหลังฉีดวัคซีนมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น

ไม่กล้าฉีดแล้วจริงๆครับ วัคซีนโควิดของท่าน แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนสำหรับผู้อายุมากขึ้น เช่น ประมาณ 50 ปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (influenza) วัคซีนงูสวัด (shingle) ส่วนใน 60 ปี มีวัคซีนใหม่คือไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) พอ 65 ปีก็มีวัคซีนนิวโมคอคคัส Pneumococcal

และสุดท้ายก็อย่าลืมโรคคอตีบและบาดทะยัก (diphtheria and tetanus) แนะนำให้ฉีดทุก 10 ปีครับ

แต่ระวังว่าถ้าวัคซีนป้องกันโรคเหล่านี้ถ้าเริ่มปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี mRNA ก็ยั้งไว้ก่อนครับ

นายแพทย์ภาสิน เหมะจุฑา MBBS (UK) วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ “สุขภาพหรรษา” เพิ่มเติม

...