สัญญาณเตือนบอกเหตุ “โรคพาร์กินสัน” อาการมือสั่นที่อาจแฝงมาด้วยความอันตราย ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคต

ใครเคยมีอาการมือสั่นบ้างหรือไม่ อาการมือสั่น อาจเกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นอาการหิว น้ำตาลตก พักผ่อนน้อย รวมถึงเป็นสัญญาณของ "โรคพาร์กินสัน" ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวของคุณได้

โรคพาร์กินสัน และอาการมือสั่น ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง ส่งผลต่อการทรงตัว และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น นอนหลับไม่สนิท ท้องผูก และการรับรู้ของรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ในตัวผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ และอาจเสียชีวิตจากผลข้างเคียงของอาการได้

แน่นอนว่า โรคพาร์กินสัน อาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้สูงอายุ แต่โรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนกลุ่มช่วงวัยกลางคน วัยรุ่น และวัยทำงานได้เช่นกัน ดังนั้นเราควรตรวจสอบความเสี่ยงหากมีอาการอย่างใกล้ชิด

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือสั่น

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผลของยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด
  • พักผ่อนและรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
  • ไทรอยด์เป็นพิษ
  • โรคมือสั่นไม่ทราบสาเหตุ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง

สัญญาณเตือนโรคพาร์กินสัน

ลักษณะอาการจะรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ประกอบด้วย

  • การเคลื่อนไหวช้าลง
  • มีการทรงตัวที่ไม่เหมือนเดิม 
  • อาการท้องผูก
  • การรับรู้กลิ่นลดลง
  • มีปัญหาการนอนหลับ

แน่นอนว่าหากมีอาการที่รุนแรงตามที่กล่าวไปเบื้องต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากรักษาเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้นอีกครั้ง เพราะหากปล่อยไว้ยิ่งในผู้สูงวัย จะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ แผลกดทับ ติดเตียง และมีโอกาสเสียชีวิตที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การอุดตันของอาหาร ทรงตัวไม่ดีจนเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุภายในครัวเรือน

...