ในสหรัฐฯเอง เชื้อไข้หวัดนกแบบรุนแรง HPAI ได้คืบคลานเข้ามาตั้งแต่ปี 2022 โดยพบในตัว opossums สุนัขจิ้งจอก skunks หมี และสัตว์อีกหลายชนิด ตามรายงานของกระทรวงเกษตร และพบในตัวมิ้งค์ ที่เคนตักกี ในเดือนเมษายน 2023 และพบในกระรอก ที่อริโซนาและหมีโคอาลา ที่อลาสกา ในปี 2023 เช่นเดียวกัน วัวที่เลี้ยงในปศุสัตว์ พบติดเชื้อมากขึ้นและแพร่ในเก้ารัฐ ทั้งนี้ รวมไอดาโฮ มิชิแกน เท็กซัส และมีการแพร่ไปยังสัตว์อื่นที่ใกล้ชิดกับวัวที่ติดเชื้อหรือกินนมของวัวที่ติดเชื้อเหล่านี้

ฝูงเป็ดไก่มีการติดเชื้อ และถูกทำลาย เฉพาะในฟาร์มเดียว ที่ Sioux county ไอโอวา มีการทำลายถึง 4.2 ล้านตัว และตั้งแต่ปี 2022 จนกระทั่งถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2024 มีการทำลายไปแล้ว 92.34 ล้านตัว และที่นิวเม็กซิโก พบแมวสองตัวและอาจมีมากกว่านั้น ตายจากไข้หวัดนก ทั้งนี้ ไม่ได้ไปใกล้ชิดกับนกหรือฟาร์มไก่หรือฟาร์มวัวเลย...ในปี 2024 พบคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนกรายที่สอง ที่มิชิแกน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมซึ่งคาดว่าเกิดจากการปรับตัวของเชื้อให้เข้ากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้ดีขึ้น จากการประกาศของ CDC ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2024 ยังไม่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ทั้งในรายนี้และอีกสองรายก่อนหน้าในปี 2022

...

ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2024 พบการติดเชื้อครั้งแรกในตัว alpacas ซึ่งเป็นสัตว์คล้ายอูฐ ใน Jerome county ไอดาโฮ จาก 4 ใน 18 ตัว โดยสัมผัสใกล้ชิดกับนกที่ติดเชื้อ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีตัวไหนตาย

และปัจจุบันมีการเริ่มใช้วัคซีนไข้หวัดนก ในคนที่ทำงานหรืออยู่ใกล้ชิด และมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และมีแผนพัฒนาวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไปในกรณีที่มีการกำหนดให้เป็นภัยคุกคามโรคระบาด

ในขณะเดียวกัน มีการประกาศขององค์กรกลางสหรัฐฯว่า ยารักษาโรคมาลาเรีย quinine และ hydroxychloroquine ไม่มีประโยชน์ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก เหมือนกับที่ประกาศว่าใช้ไม่ได้ผลในโควิด เช่นเดียวกับยาฆ่าพยาธิ ไอเวอร์เมคติน ที่ FDA แพ้คดี และต้องถอนคำประกาศห้ามใช้ในโควิดออก ทั้งนี้ โดยที่ยาฆ่าพยาธิดังกล่าว มีรายงานประสิทธิภาพมากกว่า 101 รายการ และอธิบายการป้องกันอาการหนักได้ในแคว้นของประเทศอินเดียที่ได้นำมาใช้ รวมกระทั่งถึงในแอฟริกาและรายงานจากประเทศญี่ปุ่นเอง

ซึ่งทางการและแพทย์ในสมาคมผู้เชี่ยวชาญ ของประเทศไทยก็ได้ออกข้อห้ามดังกล่าวในการใช้ยาเหล่านี้ทั้งหมด ในกลุ่มยาฆ่าพยาธิ มาลาเรีย ซึ่งหมดสิทธิบัตรแล้ว ตามองค์การอนามัยโลกและตามองค์กรของสหรัฐฯ ตลอดจนถึงฟ้าทะลายโจร ซึ่งเป็นเคราะห์ดีที่ฟ้าทะลายโจรยังหลุดรอดจากข้อห้ามใช้ของกระทรวงสาธารณสุขไทย จากหลักฐานที่ปรากฏในการป้องกันและลดความรุนแรงตลอดจนหลักฐานกลไกทางวิทยาศาสตร์

โรคอุบัติใหม่อีกหนึ่งโรคคือฝีดาษลิง ที่มีการพัฒนาตัวเองอย่างน่าพิศวง โดยที่ก่อนหน้านั้นเป็นโรคโบราณเฉพาะถิ่น ในทวีปแอฟริกากลาง และค่อยๆเคลื่อนมายังแอฟริกาตะวันตก ซึ่งอธิบายได้จากความอดอยากแร้นแค้น การสงคราม การย้ายถิ่นฐาน และการสัมผัสกับสัตว์เฉพาะถิ่น แต่ทั้งนี้ โรคไม่ได้ระบาดอย่างเก่งกาจและสงบไปได้เอง ทั้งนี้ การติดต่อจากคนสู่คนนั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเวลาเนิ่นนานพอสมควร โดยต้องมีเชื้อที่ปล่อยออกมามาก พอสมควร (sufficient time of exposure and sufficient dose) การศึกษาการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมในช่วงระยะเวลา 2001 และ 2018 ในวารสาร Nature Scientific reports ยืนยันต้นกำเนิดจากแอฟริกากลาง และขยายภูมิศาสตร์การระบาดไปยังแอฟริกาตะวันตก

ลักษณะปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติธรรมดาของฝีดาษลิงที่เกิดในปี 2022 ความจริงเริ่มตั้งแต่ในปี 2017-8 โดยมีกระจุกของการติดเชื้อทั่วโลก และในขณะนั้นอัตราการแพร่ R0 ยังอยู่ที่ 0.7 ไม่ถึงหนึ่ง ซึ่งจะแสดงการแพร่กระจายนั้นจะคงอยู่ได้ไม่สงบ (sustained transmission)

...

ในช่วงเวลาถัดมามีผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ชัดเจนในปี 2022 ที่ไม่มีประวัติเดินทางไปทวีปหรือประเทศต้นกำเนิด หรือมีประวัติสัมผัสกับคนที่กลับมาจากประเทศทวีปแอฟริกา หรือสัมผัสกับคนที่ร่วมในเทศกาล pride ด้วยซ้ำ และจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสามทวีปในมากกว่า 15 ประเทศภายในระยะเวลาสามสัปดาห์ โดยที่รายแรกในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นวันที่ 7 พฤษภาคม และในวันที่ 26 เพิ่มเป็น 90 ราย และจนกระทั่งวันที่ 7 มิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 322 ราย ซึ่งแสดงว่าเป็นการติดเชื้อแพร่กระจายในชุมชน (community spread)

ในช่วงระยะเวลาเดียวกันในกลางปี 2022 Richard Neher ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทาง computational evolutionary biologist ที่ University of Basel ได้วิเคราะห์รูปแบบการวิวัฒนาการผันแปร ทางพันธุกรรมของเชื้อฝีดาษลิงในปี 2022 เทียบกับในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยตั้งสมมติฐาน ลักษณะการแพร่จากคนสู่คน ซึ่งเก่งขึ้น หาความเชื่อมโยงไม่ได้ และลักษณะของโรคคล้ายปรับเปลี่ยนให้สังเกตยากขึ้น มีผื่นตุ่ม หลายระยะพร้อมกันในเวลาเดียวกัน แทนที่จะเกิดเป็นลักษณะเดียว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นลักษณะอื่น

...

รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากที่พบในปี 2017 มากกว่า 40 ตำแหน่ง ทั้งๆที่ไวรัสดีเอ็นเอ เช่น ฝีดาษลิงปกติจะมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากในตัวนิวคลีโอไทด์ เพียงปีละ 1-2 ตัว ในจำนวนเกือบ 2 แสนตัว ของไวรัส การที่มีการปรับเปลี่ยนใน 47 ตำแหน่ง ภายในช่วงระยะเวลาสามถึงสี่ปี จัดเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิด การวิวัฒนาการในลักษณะเช่นนี้อาจต้องใช้เวลามากกว่า 50 ปีด้วยซ้ำ

และ Neher ได้อนุมานว่าอาจเป็นผลของการปรับตัวของไวรัสต่อระบบต่อสู้ของมนุษย์ APOBEC3 การจัดกลุ่มไวรัสฝีดาษลิงในปี 2022 หลุดกระเด็นออกมาอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับไวรัสก่อนหน้าที่มีการระบาดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก และมีลักษณะพิเศษที่นิวเคลียร์โอไทด์ เปลี่ยนจาก C เป็น T และ G เป็น A ในกลุ่ม heptamers ที่วิเคราะห์ TC เป็น TT หรือ GA เป็น AA

และถ้าการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากการปรับตัวของไวรัสต่อระบบต้านไวรัสของมนุษย์เป็นไปได้หรือไม่ว่ามีการแพร่ในมนุษย์ด้วยกันเองอย่างเงียบๆ อยู่แล้ว อย่างน้อยเริ่มตั้งแต่ปี 2017 หรือก่อนหน้า.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ “สุขภาพหรรษา” เพิ่มเติม