เป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข แถลงต่อสื่อมวลชนในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สำหรับสิทธิประโยชน์การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง 3 รายการ คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งตับ ตับอ่อนและท่อน้ำดี ซึ่งทั้งหมดนี้เดิมไม่สามารถเบิกจ่ายได้จากสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สำหรับหุ่นยนต์ผ่าตัด Robotic Surgery เป็นวิธีการรักษาที่พัฒนามาจาก “การผ่าตัดด้วยกล้อง” ซึ่งเป็นการสอดเครื่องมือเข้าไปผ่าตัดในร่างกายของผู้ป่วยโดยไม่ต้องเปิดปากแผลกว้าง ทำให้ร่างกายผู้ป่วยบอบช้ำน้อย มีโอกาสฟื้นตัวเร็วกลับบ้านได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery)

ทั้งนี้ ในปัจจุบันหุ่นยนต์ผ่าตัดได้รับการพัฒนาไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีระบบภาพ 3 มิติที่มีความละเอียดสูงและมีกำลังขยายภาพอย่างน้อย 5 เท่า (3D High Definition : 3D HD) จากเดิมที่การผ่าตัดโดยใช้กล้องสามารถให้ภาพได้เพียง 2 มิติเท่านั้น

ในขณะที่ “แขนกล” ในการผ่าตัดได้ถูกพัฒนาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใกล้เคียงกับ “ข้อมือมนุษย์” ที่สามารถพลิกหรือหักงอได้อย่างอิสระตามการควบคุมของศัลยแพทย์ เปรียบเสมือนมือของศัลยแพทย์ที่สามารถสอดเข้าไปทำการผ่าตัดรักษาได้ในบริเวณที่อยู่ลึกหรือที่แคบซึ่งยากต่อการเข้าถึงกว่าการผ่าตัดแบบปกติ

...

ศัลยแพทย์จะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์เป็นเพียง “ผู้ช่วย” ให้การผ่าตัดสะดวกยิ่งขึ้นและลดผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยให้น้อยลง

ที่ผ่านมาการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรักษามะเร็งที่ได้รับความนิยมมากทั่วโลก ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ เนื่องจากต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะหรือในส่วนอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วยซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ลึก ดังนั้น การใช้แขนกลเข้าไป

ช่วยผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ทำให้ปากแผลผ่าตัดเล็ก บอบช้ำน้อยและได้ผลดี ที่สำคัญคือ หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดรักษาแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดในมะเร็งไต มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งตับ ตับอ่อนและท่อน้ำดี

การที่คนไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีอย่างมากสำหรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต... ครั้งนี้.

คลิกอ่านคอลัมน์ “สมาร์ทไลฟ์” เพิ่มเติม