ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของมนุษย์ มักเป็นส่วนที่เผชิญการบาดเจ็บจนกลายเป็นบาดแผล ตั้งแต่แผลลึก แผลถลอก รอยขีดข่วน เมื่ออายุมากขึ้นผิวหนังจะมีความอ่อนแอตามมาและเยียวยาตนเองได้น้อยลง หลายประเทศเผชิญกับจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว ความต้องการรักษาบาดแผลที่ผิวหนังของผู้สูงวัยทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลบาดแผลที่เข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ไฮโดรเจลเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมนำมารักษาบาดแผลที่ผิวหนัง เมื่อทาบนรอยแผลเจลพวกนี้จะช่วยดูดซับของเหลวหรือสารที่ร่างกายหลั่งออกมาและปกป้องบาดแผล โดยให้ความชุ่มชื้นและให้ออกซิเจน ทว่าไฮโดรเจลส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติยึดเกาะเนื้อเยื่อผิวหนัง เมื่อไฮโดรเจลมีความเหนียวและเกาะติดกับผิวหนังตรงบริเวณแผล มันจะยืดและขยายตัวแผลทันทีหลังจากดูดซับสารที่หลั่งออกมา ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเจ็บปวด แต่ยังเสี่ยงมากที่จะติดเชื้อแบคทีเรียเนื่องจากการขยายตัวของบริเวณแผล ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว ในญี่ปุ่น เผยว่า ได้พัฒนาไฮโดรเจลชนิดใหม่ราคาประหยัดโดยใช้ส่วนประกอบที่พบในสาหร่ายทะเล ทำให้ได้คุณสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างไปจากไฮโดรเจลทั่วไปอย่างสิ้นเชิง
ทีมอธิบายว่าวิธีการเตรียมไฮโดรเจลก็ไม่ได้ซับซ้อน สร้างขึ้นโดย อัลจิเนต, แคลเซียมคาร์บอเนต และน้ำโซดา ซึ่งอัลจิเนตเป็นสารที่เข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถสกัดได้จากสาหร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามชายหาด ที่สำคัญไฮโดรเจลชนิดนี้จะไม่เกาะติดเซลล์หรือเนื้อเยื่อผิวหนังแบบเหนียวแน่นหนึบ.
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่