ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลายๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น หรือบางคลินิกถึงกับปิดรับการรักษาเลยทีเดียว จึงมีการทบทวนแนวทางในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยไร้ Covid-19 และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยที่กังวลในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล

คำถามยอดฮิต! ช่วง Covid-19 จัดฟันได้หรือไม่

กรมการแพทย์ ได้ให้แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีเร่งด่วน Emergency Urgency และ Elective case โดยพิจารณาความสามารถในการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ต้องมีการปรับเครื่องมือต่อเนื่องตามดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ดูแล เช่น อยู่ระหว่างการให้แรงต่อเนื่อง, ผู้ป่วย Corticotomy เป็นต้น ทั้งในงานจัดฟันแบบติดแน่นและแบบถอดได้
  • ผู้ป่วยที่ต้องติดเครื่องมือ ในกรณีที่มีการเตรียมช่องปากไว้แล้ว เช่น ถอนฟันเพื่อการจัดฟันและยังไม่มีการเริ่มให้แรง
  • ผู้ป่วยที่ต้องถอดเครื่องมือ ในกรณีพิมพ์ปากเพื่อส่งทำเครื่องมือคงสภาพฟันแล้ว หรือวางแผนพิมพ์ปากทำเครื่องมือคงสภาพฟันในครั้งถัดไปแต่มีเครื่องมือหลุดระหว่างรอนัดหมาย

...

คัดกรองความเสี่ยง...ตรวจเช็กก่อนจัดฟัน!

การคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยก่อนเข้ามารับการจัดฟัน จัดเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนการทำหัตถการ โดยการคัดกรองสามารถทำได้โดยการสอบถามก่อนที่จะถึงวันนัดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้ป่วยมายังสถานพยาบาล โดยดูจากทั้งประวัติ และอาการแสดงของผู้ป่วย

ประวัติทันตกรรม

1. มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือไม่
2. มีประวัติของคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19 สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่ง จากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยไม่ได้ป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่
3. ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมากหรือไม่
4. มีประวัติไปในสถานที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ
5. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด/สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่

อาการแสดง

1. ไอเจ็บคอน้ำมูกไหล
2. มีไข้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 37.5 C
3. การสูญเสียการได้กลิ่น และการรับรส
4. ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
5. หายใจเหนื่อย/หายใจเร็ว

ในกรณีที่สอบถามประวัติและอาการผู้ป่วย แล้วพบว่ามีความเสี่ยง สามารถเลื่อนนัดจัดฟันและดูอาการประมาณ 1 เดือนก่อนได้ ผู้ป่วยสามารถชะลอการรักษา 1-2 เดือนได้โดยไม่กระทบการรักษา

เสี่ยงต่อ COVID-19 หรืออยู่ช่วงเฝ้าระวังแล้วมีอาการฉุกเฉิน ควรทำยังไงดี?

  • การพยากรณ์โรคและการดำเนินโรคจะดีถ้าผู้ป่วยไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ และเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ก่อนและหลังการรักษา โดยหลังจากไข้ลดลงแล้ว ต้องทานยากันเลือดแข็งตัว (Aspirin) ต่ออีกนานประมาน 60 วัน ของโรค หรือจนกว่าเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจโป่งพอง (aneurysm) กลับเป็นปกติ
  • กรณีลวดทิ่มแก้ม หากทิ่มเนื้อเยื่ออ่อนหรือทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง ควรมารับการบำบัดฉุกเฉิน โดยแจ้งความเสี่ยง ต่อ COVID-19 ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องจัดเตรียมมาตรการในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม หากปลายลวดยื่นออกมาไม่มาก แนะนำให้ใช้ขี้ผึ้งที่ได้รับจากทันตแพทย์จัดฟัน ปั้นเป็นก้อนเล็กๆและแปะบนลวดที่คมเพื่อบรรเทาอาการได้
  • ดูแลอุปกรณ์ให้ดี ไม่เคี้ยวอาหารแข็งเหนียว เพื่อไม่ให้อุปกรณ์จัดฟันหลุด เมื่อมารับการรักษาได้แล้วจะได้รักษาได้ต่อเนื่อง
  • แปรงฟันทั้งเช้า และก่อนนอน รวมทั้งหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ ด้วยแปรงจัดฟัน แปรงซอกฟัน และไหมขัดฟัน

เราควรตระหนักถึงโรคระบาด COVID-19 แต่ไม่ตระหนก เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในยุค New Normal นี้

หากเราร่วมมือกันดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง และปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันโรค COVID-19 จึงสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้อย่างแน่นอนที่สุด

บทความโดย : ทพ.พลกร บูรณะประเสริฐสุข ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาจัดฟัน ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 2 อาคาร A