ในปี 2561 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร้องขอให้มีการเลิกใช้กรดไขมันในอาหารที่ผลิตจากอุตสาหกรรมทั่วโลกภายในปี 2566 มีหลักฐานระบุว่า สิ่งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 500,000 รายทุกปี ทว่า ข้อเรียกร้องนี้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย และถูกผลักออกไปถึงปี 2568
ล่าสุด WHO ได้เรียกร้องให้นานาประเทศเข้มงวดมากขึ้นกับการห้ามหรือจำกัดไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่ง ส่วนทำไมไขมันชนิดนี้ถึงอันตราย ก็เพราะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มักพบในอาหารแปรรูปอย่างอาหารทอด ขนมอบ ของขบเคี้ยว มาการีน ไขมันชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) คือการเติมไฮโดรเจนในสารอินทรีย์ เปลี่ยนน้ำมันเหลวให้เป็นไขมันแข็ง ซึ่งไขมันทรานส์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งอุตสาหกรรม การบริโภคไขมันทรานส์จะทำให้ระดับคอเลสเทอรอล “ไม่ดี” (LDL) ในเลือดสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดระดับคอเลสเทอรอล “ดี” (HDL) ลง ความไม่สมดุลนี้อาจนำไปสู่การสะสมของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด ฯลฯ
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ชาติต่างๆดำเนินนโยบายกำจัดไขมันทรานส์ออกจากแหล่งอาหารของตนเอง เช่น กำหนดเพดานกฎหมายเกี่ยวกับปริมาณไขมันทรานส์ที่อนุญาตในผลิตภัณฑ์อาหาร, บังคับใช้การติดฉลากไขมันทรานส์บนบรรจุภัณฑ์อาหาร, ดำเนินโครงการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนถึงความเสี่ยงในการบริโภคไขมัน ทรานส์, สนับสนุนให้ผู้ผลิตอาหารให้ปรับสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อลดหรือกำจัดไขมันทรานส์ ขณะนี้หลายประเทศได้ดำเนินการขั้นตอนสำคัญในการลดการบริโภคไขมันทรานส์แล้ว เช่น เดนมาร์ก เป็นหนึ่งในชาติแรกๆที่ออกกฎหมายจำกัดปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร ส่งผลให้อัตราโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างมากในประเทศ.
...
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่