หลังจากประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้แก่ผู้ด้อยโอกาส พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการ รายย่อย ผ่านหลักสูตร ตังค์โต Know-how ที่ประสบผลสำเร็จ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดตั้ง มูลนิธิไทยเครดิต ภายใต้แนวคิดหลัก “Empower” สร้างพลังแกร่งสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานราก โดย นายรอย ออกุส ตินัส กุนารา กรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าว ว่า นับตั้งแต่ปี 2560 มีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรความรู้ด้านการเงินกว่า 100,000 คน ปีนี้ ธนาคารจึงได้ขยายความมุ่งมั่น ในการดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคม ด้วยการจัดตั้งมูลนิธิไทยเครดิตขึ้น ภายใต้แนวคิดหลัก “EMpower” สร้างพลังแกร่ง สู่สังคม และเศรษฐกิจฐานราก มุ่งความสำเร็จใน 3 ด้านหลัก การให้ความรู้ด้านการเงินที่เกี่ยวข้อง และเหมาะกับสถานการณ์ การออกแบบหลักสูตรให้เข้าใจง่าย และการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้มากขึ้น จากการเผชิญภาวะเงินเฟ้อ และการแพร่ระบาดของโควิด-19
ผู้บริหารธนาคารไทยเครดิต กล่าวต่อว่า สำหรับ EMpower ที่เน้นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ E และ M นั้นย่อมาจากคำว่า Everyone Matters หรือทุกคนคือคนสำคัญ มูลนิธิจะสร้างพลังแกร่งให้ผู้ด้อยโอกาส รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยและรายเล็ก ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถตัดสินใจด้านการเงินได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องเผชิญกับความกลัว และภัยอันตรายจากผู้ให้กู้ยืมเงินนอกระบบอย่างผิดกฎหมาย และพนักงานธนาคาร EMployee ซึ่งเป็นอาสาสมัครผู้เปี่ยมด้วยพลังแห่งความเชื่อมั่น จะร่วมส่งต่อพลังแกร่งสู่สังคม โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการรายเล็กระดับรากหญ้าในตลาดสดอาจไม่มีความรู้ทางวิชาการสูง และไม่ได้เรียนรู้ถึงวิธี ที่จะดำเนินธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงด้านการเงินด้วย ดังนั้น ธนาคารจึงเป็นตัวเชื่อม มาเติมเต็ม ในส่วนที่พวกเขาขาด ให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม มีความเข้าใจด้านการเงินมากขึ้น เพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจ และนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง นอกจากสร้างเสริมความรู้ ทางการเงิน และสนับสนุนด้านการศึกษาแล้ว มูลนิธิฯยังมีแผนในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมมาสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนร่วมมือกับองค์กรการกุศล และองค์กรสาธารณประโยชน์อื่นๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
...
และปีนี้ธนาคารได้ขยายหลักสูตร “ตังค์โต Know-how” ครอบคลุมกลุ่มมนุษย์เงินเดือน พนักงานชั่วคราว กลุ่มอาชีพอิสระรวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้นำชุมชนด้วย พร้อมกันนี้ยังได้ฝึกหัดผู้จัดการสาขา ซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิ ให้เป็นวิทยากรมืออาชีพ และแปลงโฉมสาขาสินเชื่อ เพื่อรายย่อยของธนาคาร 265 แห่งทั่วประเทศ ให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถกระจายความรู้ทางการเงินได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงในทุกภูมิภาคอีกด้วย.