การสวดมนต์เย็น หรือทำวัตรเย็น คือ การสวดมนต์ในช่วงเย็น เป็นเสมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม นิยมสวดเป็นกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากจะช่วยสั่งสมบุญบารมี ทำจิตใจให้สงบสุข และเสริมสิริมงคลให้กับตนเองได้ ทั้งนี้ นอกจากสวดมนต์ตอนเย็นแล้ว หลายๆ คนก็จะนั่งสมาธิ พร้อมทั้งแผ่เมตตาอีกด้วย

บทสวดมนต์เย็น พร้อมคำแปล สวดสั่งสมบุญบารมี

การสวดบทสวดมนต์เย็นจะเริ่มจากคำบูชาพระรัตนตรัย ตามด้วยบทสวดต่างๆ ก่อนจะแผ่เมตตา โดยสามารถสวดตามได้ ดังนี้

คําบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสําเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

...

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)

พุทธานุสสติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง
เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

พุทธาภิคีติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส
พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

(กราบ 1 ครั้ง)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ

ธัมมานุสสติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ธัมมานุสสตินะยัง กะโรมะ เส
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
ธัมมาภิคีติ
(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส
สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

...

(กราบ 1 ครั้ง)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

สังฆานุสสติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ

สังฆาภิคีติ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

...

(กราบ 1 ครั้ง)

กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ

อตีตปัจจเวกขณปาฐะ

(กล่าวนำ) หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะ เส
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต
โส เนวะ ทวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา
ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรหมจะริยานุคคะหายะ
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ
ยาตรา จะ เม ภะวัสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ
ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร
ปะริภุตโต โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ
อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ

...

บทกรวดน้ำอิมินา บทสวดแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจริยูปะการา จะ และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตาปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ

สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ และราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหมมะมารา จะ อินทา จะ พรหมมาร และอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งเทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผองที่ข้าพเจ้าทํา จงช่วยอํานวยสุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุข สามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน

สวดมนต์เย็นควรสวดกี่โมง

การสวดมนต์เย็น หรือทำวัตรเย็น ไม่มีการระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะนิยมสวดช่วง 17.00-19.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคววามสะดวกของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน

การสวดมนต์เย็นเป็นประจำ นอกจากจะช่วยเสริมสิริมงคลและสั่งสมบุญบารมีให้กับตนเองได้แล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบและผ่องใสอีกด้วย 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง