“ความยั่งยืน” ไม่ได้อยู่แค่ในมิติของสิ่งแวดล้อม หรือการฟอกเขียว เพื่อสร้างภาพสู่สาธารณชนว่า เป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังต้องครอบคลุมถึงมิติอื่นๆ ของความยั่งยืนด้วย ทั้งเรื่องสังคม การกำกับกิจการที่ดี และการคำนึงถึงความยั่งยืนของตัวธุรกิจเอง

ในฐานะผู้นำด้านการสื่อสารมวลชนของประเทศไทย “ไทยรัฐกรุ๊ป” ไม่เพียงตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งเสริมการรับรู้ และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ยังให้ความสำคัญกับเรื่อง “ความยั่งยืน” อย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ได้ลุกขึ้นจัดทำ “Thairath Sustainability Report 2024” เป็นครั้งแรก เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของ “ไทยรัฐกรุ๊ป” และกลุ่มพันธมิตร ที่ตั้งใจผลักดันเรื่องความยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สู่การลงมือทำเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง

ซึ่งแคมเปญ “Thairath Sustainability Report 2024” เป็นความพยายามในฐานะสื่อที่ไม่ได้จำกัดขอบเขตแค่การรายงานข่าว แต่รวมไปถึงการนำสังคมไปสู่องค์ความรู้และอนาคตที่ดีขึ้น ผ่านการทำความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างลึกซึ้ง

ล่าสุด คุณโปรดปราน หมื่นสุกแสง เจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด ไทยรัฐทีวี และไทยรัฐออนไลน์ ตัวแทนผู้บริหารจากไทยรัฐกรุ๊ป ส่งมอบหนังสือ "Thairath Sustainability Report 2024" ให้กับ อเล็กซ์ เรนเดลล์ นักแสดงชื่อดัง ซึ่งเจ้าตัวก็ได้เปิดใจถึงการได้รับหนัง "Thairath Sustainability Report 2024" ในครั้งนี้ว่า

...

รู้สึกอย่างไรที่ได้รับหนังสือเล่มนี้?
รู้สึกดีครับ อันดับแรกเลย มีทีมงานบอกว่า พี่ๆ จากไทยรัฐ ผู้บริหารอยากจะคุยเรื่อง sustainability ผมคิดว่าจะแต่งตัวอะไร จะคุยยังไง (ยิ้ม) เพราะว่าปกติไม่ได้ทำอะไรที่เป็นทางการมาก แต่พอได้คุยแล้ว รู้สึกว่าท่านให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก มายาวนานแล้ว และก็ไม่ใช่แค่เรื่องสื่อสารในสื่อของไทยรัฐ แต่ว่าเรื่องของการลงไปประชุม และพยายามหาโปรเจกต์ในพื้นที่ ทั้งแต่งตั้งมูลนิธิ การร่วมมือ หรือการพูดคุยกับองค์กรอื่นๆ ถึงได้หนังสือเล่มนี้มาได้ ถึงได้รู้สึกดีที่ถูกชวนมา แล้วก็เหมือนได้มาพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ครับ

คิดว่าอะไรในตัวเราที่ทำให้ได้ถูกเลือกมารับหนังสือ Thairath Sustainability Report 2024?
อาจจะเป็นด้วยความที่ผมทำงานทางด้านนี้และก็อยู่วงการบันเทิงด้วย พอจะนำเรื่องนี้ไปเสนอข้อมูลในสื่อของเราเอง และสื่อของไทยรัฐเพื่อที่จะทำให้มันแมสมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นความท้าทายของเรามาตลอดเลยว่า ถ้าเรามาใช้ภาษาวิชาการ คนก็ไม่เข้าใจ การเปลี่ยนแปลงก็ไม่เกิด แต่ถ้าเราสามารถที่จะกรองมาแล้ว ทำให้มันเข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ และก็มีความสนุกสนานที่จะรับชมเรื่องแบบนี้ มันก็จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ก็เลยรู้สึกว่าอาจจะเป็นด้วยเหตุผลนี้ เพราะเราก็ทำมาสักพักใหญ่ๆ แล้วเหมือนกัน ก็จะเกิดขึ้นอยู่เหมือนกันครับ ที่จะมีพี่ๆ ผู้ใหญ่ อยากจจะคุยด้วย เผื่อวันหนึ่งได้ร่วมงานกัน

รู้สึกอย่างไรกับแคมเปญนี้?
โดยส่วนตัว ผมก็ทำงานกับภาครัฐ กับภาคเอกชน ซึ่งในนี้จะมีทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ได้บอกว่าตัวเองรันในเรื่องของ sustainability ไปในทิศทางไหนได้บ้าง เพราะ sustainability มันมีหลายแง่มุมมาก อาจจะรันด้วย SDGs แผนการยั่งยืนก็ได้ จะ Circular Economy จะ ESG แต่ละที่จะมีวิธีคิด เขาก็จะเลือกในสิ่งที่มันเหมาะสมกับธุรกิจของเขา แล้วการที่เราได้เหมือนคัมภีร์อีกหนึ่งเล่ม ที่ได้เห็นว่าผู้ใหญ่ทุกท่าน เขาทำ หรือเขาคิดกันอย่างไร มันก็ต่อยอดกับงานเราด้วย เพราะบางทีเราคุยกับฝั่งธุรกิจ ด้วยความที่เราไม่เคยทำงานกับองค์กรในลักษณะใหญ่แบบนี้ เราไม่เคยมีประสบการณ์ เพราะฉะนั้นเราอาจจะไม่ได้เข้าใจในวิธีคิดเขา เวลาเขามาปรึกษาเรา เราก็จะได้เข้าใจ เผื่อเราจะได้ออกแบบหรือว่าเกิดการร่วมมือที่มันชัดเจนมากยิ่งขึ้น อันนี้ผมเห็นแล้ว ผมเกิดความรู้สึกอยากจะกลับไปอ่านเลย เพื่อที่จะเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง

อเล็กซ์เรียก Thairath Sustainability Report 2024 ว่าคัมภีร์?

ผมได้ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็นจุดรวมของหลายความคิด และก็รู้สึกว่าผู้บริหารทุกท่าน อย่างในนี้ก็จะมี กลุ่ม TCP อย่างคุณสราวุฒิ ผมก็เคยได้ทำงานกับเขา มีอาจารย์มหาวิทยาลัยของผมอยู่ในนี้ด้วย หรือมีหลายๆ องค์กรที่เรายังไม่เคยร่วม และได้เห็นแนวคิดของเขา เพราะฉะนั้นก็เลย ดูสิว่าแต่ละคนเขาคิดกันยังไง การทำเรื่องนี้สามารถทำในทางไหนได้บ้าง เวลาเราไปพูดหรือไปบรรยาย เราไปสื่อสารต่อ หรือว่าไปประชุม มันก็จะมีข้อมูลในตัวของเรา ทางด้านการทำงาน ผู้ก็รู้สึกว่ามันมีประโยชน์กับผม

อยากจะฝากอะไรถึงเยาวชน คนรุ่นใหม่บ้าง?
อยากจะบอกว่ามันเข้ามาใกล้ตัวเราในทุกวันๆ อยู่ๆ 2 วันที่แล้วฝนก็ตกหนักขึ้นมา น้ำก็ท่วมเฉยเลย ทั้งๆ ที่มันเป็นเดือนมีนาใช่ไหม ฤดูมันเปลี่ยนแปลงไป วันก่อนก็เจอกับกรมที่ดูแลเรื่อง climate change เขาก็บอกว่า ถ้าเอาสถิติมาดู ฤดูกาลมันเลื่อนมา 1 เดือนเต็มๆ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

และประเทศเรา เป็นประเทศที่อยู่ได้เพราะทรัพยากรของเราสมบูรณ์ ป่า ทะเลของเราสมบูรณ์ ถ้าเราไม่ช่วยกันดูแล หรือช่วยกันแก้ปัญหาตรงนี้ ทุกคนจะได้รับผลกระทบกันหมด ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง แต่ทุกบุคคล ทุกระดับองค์กร องค์กรก็จะค้าขายยากขึ้นในอนาคต ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ จะเป็นการค้าขายกับต่างประเทศ เขาต้องมาดูก่อนว่าคุณทำเรื่องของ sustainability อย่างไรบ้าง คุณไม่ทำใช่ไหม ผมขอโทษ ผมไม่สามารถที่จะค้าขายกับคุณได้

...

เพราะฉะนั้น ทุกคนจะได้รับผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ว่าทางตรงก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันครับ อยากให้ทุกคนตระหนักถึงและเทคแอ็กชันในรูปแบบของตัวเอง ศึกษาและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ เพราะว่ามันไม่ผิดที่คนจะไม่สามารถทำได้ เพราะว่าคนเขาไม่ได้มีความรู้มาก่อน เพราะฉะนั้นการให้ความรู้ มันเป็นจุดเริ่มต้นจุดหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าใจ และเริ่มที่จะคิดว่าเราสามารถมีส่วนร่วมตรงไหนได้บ้าง

...