มองกลับไปในปี 2566 วงการฮอลลีวูด สหรัฐอเมริกา เกิดเหตุการณ์ผู้เขียนบทหนังและนักแสดงนัดหยุดงานประท้วง เนื่องจากสตูดิโอภาพยนตร์และบริษัทสตรีมมิงไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติด้านสัญญาค่าจ้างที่เป็นธรรมกับสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ รวมถึงสหพันธ์ศิลปินโทรทัศน์และวิทยุแห่งอเมริกาได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีภาพยนตร์หรือหนังหลายเรื่องปรากฏให้ได้ชม

มีผลงานระดับปรากฏการณ์ เมื่อหนังฟอร์มยักษ์ 2 เรื่องออกฉายช่วงเวลาไล่เลี่ยกันคือ “ออปเพนไฮเมอร์” (Oppenheimer) สร้างจากชีวประวัติของ เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ที่ได้รับยกย่องเป็น “บิดาแห่งระเบิดปรมาณู” กำกับโดย คริสโตเฟอร์ โนแลน และ “บาร์บี้” (Barbie) ตุ๊กตาขวัญใจเด็กสาวทั่วโลก ซึ่งส่งให้ เกรตา เกอร์วิก กลายเป็นผู้กำกับหญิงระดับพันล้าน หนังทั้ง 2 เรื่องนี้ควงคู่กันกวาดรายได้แบบทะลุจอ ทำให้คอหนังหรือแม้แต่สื่อมวลชนทั่วโลกได้ควบฉายาให้กับหนังคู่นี้ว่า “บาร์เบนไฮเมอร์” (Barbenheimer)

คริสโตเฟอร์ โนแลน
คริสโตเฟอร์ โนแลน

...

ซึ่งรายได้พุ่งแรงถึง 1,440 ล้านดอลลาร์ฯ หรือกว่า 50,000 ล้านบาท ทำให้ “บาร์บี้” ได้รับรางวัลภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้และความเป็นภาพยนตร์ จากเวที ลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 81 จัดที่โรงแรมเบเวอร์ลี ฮิลตัน นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิ ฟอร์เนียร์ สหรัฐฯ เมื่อคืนวันที่ 7 ม.ค.ตรงกับวันที่ 8 ม.ค.ตามเวลาในไทย รางวัลนี้จะมอบให้หนังที่ทำรายได้รวม 150 ล้านดอลลาร์ฯขึ้นไป โดย 100 ล้านดอลลาร์ฯ ต้องเป็นรายได้ในอเมริกา หรืออาจมีคนดูสตรีมมิงมากตามเกณฑ์ จากสตรีมมิงที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังมอบเป็น “ครั้งแรก” บนเวทีลูกโลกทองคำ

เอ็มมา สโตน
เอ็มมา สโตน

“บาร์บี้” เข้าชิงลูกโลกทองคำถึง 9 สาขา แต่กลับพลาด หนังยอดเยี่ยมสาขาเพลงหรือตลก โดยรางวัลนี้ตกเป็นของ “พัวร์ ธิงส์” (Poor Things) หนังแนวสตรีนิยมที่นำเรื่องแฟรง เกน สไตน์ มาพลิกโฉมใหม่ กำกับโดย ยอร์กอส ลานธิมอส นำแสดงโดย เอ็มมา สโตน ซึ่งเจ้าตัวยังซิว นักแสดง นำหญิงยอดเยี่ยมสาขาหนังเพลงหรือตลกด้วย แต่ “บาร์บี้” ก็ยังได้ เพลงประกอบหนังยอดเยี่ยม กับ “วอท วอส ไอ เมด ฟอร์?” (What Was I Made For?) ของศิลปิน 2 พี่น้อง บิลลี ไอลิช และ ฟินเนียส์

ลิลี แกลดสโตน
ลิลี แกลดสโตน

ขณะที่ พอล จิอาแมตติ ดาราฝีมือเก๋าได้ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสาขาหนังเพลงหรือตลก จาก “เดอะโฮลด์โอเวอร์ส” (The Hold overs) โดย ดาไวน์ จอย แรนดอล์ฟ นักแสดงสาวผิวสีจากเรื่องเดียวกัน ก็ได้ นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ส่วน “คิลเลอร์ส ออฟ เดอะ ฟลาวเวอร์ มูน” (Killers of the Flower Moon) ของ มาร์ติน สกอร์เซซี ผู้กำกับระดับตำนานนั้น ลิลี แกลดสโตน คว้านักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมสาขาหนังดราม่า ไปสมใจ

พระเอกของงานต้องยกให้ “ออปเพนไฮเมอร์” อย่างเป็นเอกฉันท์ เข้าชิง 8 สาขา แต่โกยไปได้ 5 สาขา โนแลน ไม่พลาด รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ขณะที่ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสาขาหนังดราม่า ตกเป็นของ คิลเลียน เมอร์ฟีย์ ควงคู่ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ที่ซิว นักแสดงสมทบ ชายยอดเยี่ยมไป ยังมี รางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และปิดท้ายด้วย รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสาขาหนังดราม่า สมกับที่หลายเสียงวิจารณ์กล่าวขวัญว่าเป็นผลงานที่ “ไร้เทียมทาน” ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน.

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่