เผยปมร้อนยังมีทั้งนั้นที่มานายกฯจากคนนอกโอเพนลิสต์‘ส.ว.สรรหา’

กมธ.ยกร่างฯจ่อคืน ดาบ 5 เสือ กกต. จัด การเลือกตั้ง ตัด กจต. ทิ้งเหตุไร้ประสิทธิภาพ ไม่ยุบรวมผู้ตรวจการฯ-กสม. “โอเพนลิสต์” ยังขอซุกไว้ในบทเฉพาะกาล รอเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ “นายกฯคนนอก” แค่ปรับแต่ไม่ตัด-หลักการเหมือนเดิม สปช.โวยถอยก้ำๆกึ่งๆมีสิทธิโดนโหวตคว่ำกลางกระดาน สนช.ชงแผนผ่าตัด ตร. “ยุบที่ปรึกษา สบ 10 ปิด-ตำนาน ดาบ จ่า นายสิบ” “บวรศักดิ์” ปัดพูดดูถูกเสื้อแดง ท้าเปิดเทปฟัง ใครเข้าใจผิดก็ขออโหสิกรรม “ตู่” ซัดเจตนาชัดสร้างความร้าวฉานเตือนน้ำผึ้งหยดเดียว “ปู” ไปเมืองลับแลกราบหลวงพ่อเพ็ชร-พระยาพิชัยดาบหัก “ทักษิณ” ไอจีจากยุโรปเบิร์ธเดย์น้องสาว อ้อนพี่อยู่มุมไหนของโลกยังคิดถึงครอบครัวเสมอหลังจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเปิดให้องค์กรต่างๆมาชี้แจงเกี่ยวกับข้อเสนอให้มีการปรับแก้รัฐธรรมนูญร่างแรก ล่าสุดกรรมาธิการยกร่างฯคาดว่าจะเริ่มพิจารณาเป็นรายมาตราได้ในวันที่ 25 มิ.ย.

กมธ.ยกร่างฯตัด กจต.-คืนอำนาจ กกต.

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 มิ.ย. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯเป็นประธานการประชุม มีวาระการทบทวนและพิจารณาคำขอแก้ไขจากกลุ่มต่างๆ โดยนายปกรณ์ ปรียากร โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการนำคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ภาคส่วนต่างๆนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯมาพิจารณา กมธ.ยกร่างฯมีแนวโน้มปรับเนื้อหาใน 2 เรื่อง คือ กจต.ที่จะปรับออก เหลือเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนการตั้งหน่วยงานหรือบุคคลใดให้ช่วยในกิจการการเลือกตั้งให้เป็นสิทธิ์ของ กกต. นอกจากนั้นแล้วยังพิจารณาด้วยว่า กจต. ที่ต้องการให้มาแก้ปัญหาในส่วนการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมานั้นแท้จริงอาจไม่สามารถปฏิบัติได้ ดังนั้นการแก้ปัญหารวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งจะพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

...

ไม่ยุบรวมผู้ตรวจการฯ-กสม.

นายปกรณ์กล่าวต่อว่า ขณะที่การควบรวมผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นั้น ข้อสรุปคือไม่ควบรวมและให้เป็นรูปแบบเหมือนกับที่ผ่านมา ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน กมธ.ยกร่างฯจะพิจารณาในรายละเอียดช่วงของการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอีกครั้ง

25 มิ.ย.ได้ฤกษ์แก้ไขรายมาตรา

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้พิจารณาเป็นรายประเด็นแล้วแต่ยังไม่มีบทสรุปชัดเจน คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จก่อนวันที่ 24 มิ.ย.58 เพราะในวันที่ 24 มิ.ย. กมธ.ยกร่างฯซึ่งเป็น สปช. 21 คนจะต้องไปร่วมงานสัมมนาที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจัดขึ้นด้วย การพิจารณารายมาตราน่าจะเริ่มต้นได้ในวันที่ 25 มิ.ย.58

โอเพ่นลิสต์ซุกไว้ในบทเฉพาะกาล

นายคำนูณกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่มีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม คือระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม เพียงแต่ปรับเปลี่ยน ส.ส.เขตจาก 250 เป็น 300 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 200 เหลือ 150 คนโดยให้มีบัญชีเดียว ส่วนระบบโอเพ่นลิสต์จะชะลอไว้อาจเขียนในบทเฉพาะกาลว่า จะใช้ต่อเมื่อมีการลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ส่วนเรื่องนายกฯคนนอกหลักการยังเหมือนเดิมคือ ใช้เสียง 2 ใน 3 และจะปรับปรุงจากเดิมที่เขียนว่า ถ้าพ้น 30 วันแล้วให้ใช้เสียงข้างมาก ถ้าเป็นนายกฯคนนอกยังต้องใช้เสียง 2 ใน 3 เหมือนเดิม

จ่อยุบรวม กก.ปรองดอง-ปฏิรูป

นายคำนูณกล่าวอีกว่า ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับภาค 4 ปฏิรูปด้านปรองดองตามที่ ครม.เสนอก็น่าสนใจที่ให้ยุบคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองมารวมกับกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและเสริมสร้างความปรองดอง และให้รายละเอียดทั้งหมดไปอยู่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดยต้องพิจารณาทบทวนอีกครั้ง ว่าจะคงอำนาจหน้าที่เหมือนที่เคยบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไปใส่ไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทนหรือไม่ เพื่อให้มีการปรับแก้ได้ง่ายกว่าการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

สปช.โวยถอยแค่ครึ่งๆกลางๆ

นายนิรันดร์ พันทรกิจ สปช.กล่าวถึงการพิจารณาทบทวนแก้ไขเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า เนื้อหาที่ กมธ.ยกร่างฯปรับปรุงแก้ไขตามคำท้วงติง เช่น การเพิ่มจำนวน ส.ส. การตัดกลุ่มการเมือง การแขวนระบบเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ เป็นการถอยเพียงครึ่งๆกลางๆ ไม่ให้เสียรูปมวยเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญๆ เช่น นายกรัฐมนตรีคนนอก การเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ยังคงอยู่ รวมถึงที่มา ส.ว. แม้จะยอมลดอำนาจของ ส.ว.ลง แต่มีข่าวว่า จะให้มีแค่เฉพาะ ส.ว.สรรหาอย่างเดียว ประเด็นเหล่านี้ยังไม่มีแก้ไข และถูกต่อต้านอย่างหนักจากนักการเมือง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจทำประชามติของประชาชน ในที่สุดถ้าแก้รัฐธรรมนูญแล้ว กระแสสังคมรับไม่ได้ มีแววไม่ผ่านการทำประชามติ ถ้า สปช.เห็นแนวโน้มเช่นนี้ ก็คงล้มกระดานก่อนแน่ เพราะไม่อยากให้เสียเงินทำประชามติฟรีๆ 3 พันล้านบาท และมายกร่างใหม่ เพื่อเสียเงินทำประชามติอีกครั้ง

ชี้ช่องแจกร่าง รธน.เงาก่อนลงมติ

นายนิรันดร์กล่าวว่า ดังนั้นเพื่อไม่ให้ร่างรัฐธรรมนูญสุ่มเสี่ยงถูกคว่ำ ขอเสนอให้ กมธ.ยกร่างฯส่งร่างรัฐธรรมนูญเงา ฉบับไม่เป็นทางการมาให้ สปช. เห็นเนื้อหาล่วงหน้า เพื่อให้ สปช.ได้หารือนอกรอบว่า จะให้ปรับปรุงแก้ไขส่วนใดเพิ่มเติม จะได้ไม่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกคว่ำใน สปช. เพราะหากรอร่างรัฐธรรมนูญฉบับเป็นทางการที่คาดว่า กมธ.ยกร่างฯจะส่งให้ สปช.ได้ในวันที่ 22 ส.ค. เมื่อ สปช.ได้เห็นร่างแล้ว หากไม่เห็นด้วยเรื่องใด จะไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมใดๆได้อีกแล้ว ต้องตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หาก สปช.ได้เห็นร่างฉบับไม่เป็นทางการล่วงหน้า ก็ยังมีเวลาพูดคุยกับ กมธ.ยกร่างฯให้ปรับปรุงแก้ไขได้ทัน

สนช.ชงยุบที่ปรึกษา สบ 10 ผ่าตัด ตร.

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่สโมสรตำรวจ คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัดสัมมนาการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทั้งนี้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สนช. กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจควรกำหนดให้ สตช. มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวง แต่ยังใช้ชื่อว่า สตช. อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และควรลดหน่วยงานในส่วนกลางและลดตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับสูง โดยยุบเลิกตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) เทียบเท่ารอง ผบ.ตร. ตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร. รวมถึงตำแหน่ง ผบช. ประจำ สง.ผบ.ตร.ทั้งหมด ส่วนคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ปรับเปลี่ยนให้ ผบ.ตร.เป็นประธาน ก.ตร. โดยให้ ก.ตร.มีอำนาจเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีแต่งตั้งโยกย้าย ส่วนการพิจารณาแต่งตั้งให้ตัดทิ้งทั้งหมด

ปิดตำนาน “ดาบ–จ่า–นายสิบ”

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย รองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล สตช. กล่าวว่า ผลการศึกษาการปฏิรูปตำรวจของคณะอนุ กมธ.กิจการตำรวจ เห็นว่า ควรปฏิรูปตำรวจ อาทิ ยกเลิกการแบ่งชั้นข้าราชการตำรวจระหว่างชั้นสัญญาบัตรกับชั้นประทวน เพื่อให้ตำรวจมีฐานะเท่าเทียมกัน การปรับระบบยศของตำรวจให้สอดคล้องกับหน้าที่ อาทิ ดาบตำรวจเป็นนายตำรวจเอก จ่าสิบตำรวจเป็นนายตำรวจโท สิบตำรวจเอก-โท-ตรี เป็นนายตำรวจตรี การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนและตำแหน่งเป็นไปตามคุณธรรม ความสามารถ

สพม.ปิ๊งประชามติเลือกนายกฯ ตรง

นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง (สพมง.) กล่าวถึงกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีท่าทียอมปรับแก้ประเด็นโครงสร้างทางการเมืองหลายประเด็น ว่า ต้องรอให้มีความชัดเจนก่อน จะดูแค่การปรับแก้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ก็เหมือนคนหากมองที่หน้าตาอาจหน้าสวยแต่อาจขาพิการ ส่วนการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากคำถามว่าประชาชนจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว ต้องคิดต่อไปว่าหากไม่รับจะทำอย่างไรต่อ ตนคิดว่าควรมีคำถามว่าประชาชนยังเชื่อมั่นในระบบรัฐสภารูปแบบเดิมหรือไม่ หรือควรถามเลยว่าประชาชนต้องการให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นคำถามที่สอดรับกับคำถามรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ และจะทำให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามารถปรับแก้รัฐธรรมนูญได้ตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

จับตาแก๊งนอก ปท.ป่วนช่วงประชามติ

นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. กลาโหม กล่าวถึงการติดตามตัวผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 ในต่างประเทศว่า พล.อ.ประวิตร มอบหมายให้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศติดตามส่วนหนึ่ง และฝ่ายความมั่นคงติดตามส่วนหนึ่ง ยืนยันเรื่องนี้เอาจริง เพราะไม่ต้องการให้พวกนี้ทำให้เกิดความสับสนในทิศทางประเทศ ที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่อยู่นอกประเทศก็ไม่ใช่แค่ปล่อยข่าวปฏิวัติซ้อนเท่านั้น มีการปล่อยข่าวหลายเรื่องแล้ว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง ซึ่งกำลังเข้าไปควบคุม และยิ่งเข้าสู่โรดแม็ประยะที่ 2 ที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ต้องจับตาการเคลื่อนไหว เป็นช่วงที่มีแรงกระเพื่อมทางการเมืองมาก และยิ่งจะมีการทำประชามติ ต้องประคับประคองผลักดันไปสู่โรดแม็ป ระยะที่ 3 ไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ ซึ่งรู้ตัวบุคคล รู้แหล่งหมดแล้ว

คาดไม่มีอะไรวันเปลี่ยนการปกครอง

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครองอาจมีกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ว่าช่วงเวลาดังกล่าว คสช.มีเจ้าหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยอย่างดีที่สุดคงไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นวันสำคัญใดๆ ซึ่งในหลักการแล้ว เจ้าหน้าที่พยายามบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสมต่อสถาน– การณ์ เน้นทำความเข้าใจและขอความร่วมมือจากประชาชน และที่ผ่านมาส่วนใหญ่เข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างดีกับเจ้าหน้าที่ คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

ปชป.พร่ำบอกแก้ร่างฯ ให้ตรงจุด

เมื่อเวลา 10.00 น.ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าพบ พล.ท.บุญธรรม โอริส รองผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปและการปรองดองของประเทศ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ ศปป.จะเชิญนักการเมืองและนักวิชาการเข้าร่วม โดยนายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าพร้อมให้ความร่วมมือในเรื่องการปฏิรูปในฐานะที่มีประสบการณ์ในสภาฯ กว่า 20 ปี โดยเฉพาะคำว่าปฏิรูปมีเป้าหมาย ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะตกหลุมดำของการปฏิรูป ส่วนตัวเห็นว่า มีปัญหาที่ส่วนไหนก็ต้องแก้ในส่วนนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นฉบับที่ค่อนข้างดีที่สุด การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยร่างใหม่ให้ดีกว่า ถามว่าจะทำได้หรือไม่ ตอบว่า ทำได้แต่ทำได้ยากมาก

สวด สปช.คว้าน้ำเหลวปฏิรูป

นายนิพิฏฐ์กล่าวต่อว่า สำหรับการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตนมองว่า ยังจัดการปฏิรูปไม่ได้ นับวันยิ่งห่างเป้าหมายการปฏิรูปออกไปมากขึ้น เช่น การเสนอตั้งบ่อนกาสิโนให้ถูกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่หน้าที่เพื่อการปฏิรูป ก็กลายเป็นเรื่องเละเทะไปแล้ว จึงคิดว่า สปช.ชุดนี้ควรถูกไล่ออกจากเรือแป๊ะแล้ว เช่นเดียวกับการสร้างกระแสข่าวโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ก็เป็นเรื่องผิดหลักการของที่คนสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่จะคว่ำร่างนี้เสียเอง ถ้าเป็นตนก็จะไล่ออกจากเรือแป๊ะด้วย

พท.แฉยื้อเวลา-แก้ รธน.ไปเรื่อยๆ

นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.กล่าวว่า ขณะนี้ สปช.บางส่วนแสดงความชัดเจนอย่างมากว่าจะโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ และสนับสนุนให้มีการตั้งสภาขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศ กระบวนการดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืดเวลาโรดแม็ปออกไปอีก และหากไม่พอใจกันก็จะแก้รัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ กลายเป็นการต่ออายุให้กับรัฐบาลอยู่ในอำนาจแบบชอบธรรมไปโดยปริยาย ทำแบบนี้การเลือกตั้งก็ต้องล่าช้าออกไป การปฏิรูปก็ไม่สำเร็จ ที่สำคัญการปรองดองคงไม่เกิดขึ้น สถานการณ์ขณะนี้เห็นชัดว่ากดทับสั่งห้ามฝ่ายประชาธิปไตย ใช้อำนาจปิดหูปิดตา ห้ามพูดห้ามเคลื่อนไหว และปล่อยให้องค์กรอิสระมาจัดการกับพวกเรา แล้วจะปรองดองกันได้อย่างไร

บี้ ป.ป.ช.สอย “บิ๊กตู่” ล้มล้างการ ปค.

“กรณีที่ ป.ป.ช.ส่งฟ้องอดีต 248 ส.ส. สืบเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.มิชอบ ป.ป.ช.กล่าวหาว่า พวกผมแก้รัฐธรรมนูญ ล้มการปกครอง แล้วที พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. รัฐประหารยึดอำนาจแบบนี้ไม่ใช่ล้มล้างการปกครองหรือ เหตุใด ป.ป.ช.ไม่ส่งเรื่องถอดถอน พล.อ.ประยุทธ์บ้าง องค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกลับไม่กล้าใช้กฎหมาย แล้วมาตรฐานของประเทศนี้อยู่ตรงไหน” นายวรชัยกล่าว

“ปึ้ง” ให้ไปทำความสะอาดตัวเองก่อน

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีที่ ป.ป.ช.เรียกตนไปรับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 23 มิ.ย. ในคดีการจ่ายเงินเยียวยาสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตนได้ทำหนังสือไปยัง ป.ป.ช.เพื่อขอเลื่อนเนื่องจากติดภารกิจ โดยจะไปรับทราบข้อกล่าวหาในช่วงปลายเดือน ก.ค.หรือต้นเดือน ส.ค.แทน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะไปรับทราบข้อกล่าวหา ที่สรุปโดยคณะอนุฯ ป.ป.ช.ที่มีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน อยากถามว่าคุณสมบัติของกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ที่ตั้งคณะอนุฯ ขึ้นมานั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ตนเคยยื่นเรื่องร้องเรียนว่านายภักดี โพธิศิริ หนึ่งในกรรมการ ป.ป.ช.ขาดคุณสมบัติเพราะไม่ได้ลาออกจากกรรมการบริษัทภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.ก็ออกมายอมรับในสภาเมื่อเดือน พ.ค.

ที่ผ่านมาว่าหากกรรมการ ป.ป.ช. ขาดคุณสมบัติ