อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดแผนความเสี่ยงภัยพิบัติ (อุทกภัย) เน้นช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.นี้ กำชับให้ จนท.ติดตามสถานการณ์รายงานข้อมูลต่อเนื่อง ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกร เพื่อเตือนให้รับมือหลีกเลี่ยงบรรเทาความเสียหาย

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการประเมินข้อมูลตามประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศของของประเทศไทย ราย 3 เดือน ของกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่จะมีผลต่อภาคการเกษตร พบว่า ภาคเหนือ ภาคอีสาน จะมีฝนตกเฉลี่ย 230-300 มิลลิเมตร ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567 ส่งผลให้มีปริมาณมวลน้ำสะสมไหลสู่พื้นที่ลุ่มสำคัญ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สำหรับปี 2566 ที่ผ่านมา ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวม 58 จังหวัด พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง แบ่งเป็น พื้นที่ปลูกข้าว ประมาณ 980,000 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ ประมาณ 310,000 ไร่ ทั้งนี้ ได้ช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวต่อว่า ส่วนข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ปี 2566/67 ณ ปัจจุบัน พบว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวแล้วกว่า 47 ล้านไร่ ซึ่งบางพื้นที่พบมวลน้ำสะสมสูง จึงต้องบริหารความเสี่ยง รวมถึงคาดการณ์ถึงผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรล่วงหน้า ในช่วงใกล้เวลาเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ด้วย เพราะเป็นช่วงที่มีมวลน้ำสูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ใกล้แนวลุ่มน้ำ แม่น้ำ คลอง พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ทางน้ำไหลผ่าน รวมทั้งพื้นที่ที่เคยประสบเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำไหลบ่า และไหลหลาก ซึ่งเป็นช่วงที่มีมวลน้ำสะสมสูง จึงต้องบริหารความเสี่ยง คาดการณ์ถึงผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรล่วงหน้า โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ใกล้แนวลุ่มน้ำ แม่น้ำ คลอง พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ทางน้ำไหลผ่าน รวมทั้งพื้นที่ที่เคยประสบเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำไหลบ่า และไหลหลาก

...

นายพีรพันธ์ กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามและคอยรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนดูแลพี่น้องเกษตรกรอย่างใกล้ชิด พร้อมย้ำเตือนให้เกษตรกรเตรียมรับมือ ที่จะสร้างความเสียหายในพื้นที่การเกษตร เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หาทางรับมือ และบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ร่วมกับภาครัฐ ทำการพร่องน้ำ ดูแลเส้นทางน้ำให้ไหลผ่านได้สะดวก เสริมคันกั้นน้ำในจุดที่มีความเสี่ยง และเตรียมระบบระบายน้ำเพื่อลดเวลาการแช่ขังของน้ำ

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ เกษตรกรจะต้องเสริมความแข็งแรงให้กับพืช โดยใส่ปุ๋ย/ธาตุอาหารที่จำเป็น เพื่อให้พืชทนทานต่อความเสี่ยงได้อีกระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งให้ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อขอรับสิทธิตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง และไม่ให้เสียสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐต่อไป.