สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กระตุ้นภาครัฐหนุนการผลิตอาหารสัตว์สร้างวัตถุดิบให้ทัดเทียมสากล มีความยั่งยืนมุ่งลดคาร์บอนในการปลูกพืชทั้งข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ย้ำต้องมองที่มาของวัตถุดิบก่อนราคา พร้อมชูตัวอย่างถั่วเหลืองสหรัฐฯ ที่คาร์บอนต่ำตั้งแต่ต้นน้ำ

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (TFMA) ร่วมกับสภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) จัดงานสัมมนา "เจาะลึกกลยุทธ์ปฏิบัติการที่ยั่งยืน : ระดมความคิดจากผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์" โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งภาคการผลิต เอกชนและหน่วยงานภาครัฐร่วมรับฟังและแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนกับวิทยากร จนท.ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดมาตรฐานด้านความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตัวแทนเกษตรกรผู้ทำฟาร์มถั่วเหลือง ในฐานะบอร์ดถั่วเหลืองของสหรัฐฯ มาถ่ายทอดวิธีการทำฟาร์มเพาะปลูกถั่วเหลืองแบบยั่งยืน และเป็นไปตามมาตรฐาน ใบรับรองความยั่งยืนของถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ SSAP : U.S. Soy Sustainbility Assurance Protocal 

...

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ภาคผู้ประกอบการอาหารสัตว์ของไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ของไทยมีความพร้อมและขานรับต่อกระแสของโลกที่ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงไปยังภาคปศุสัตว์ที่มุ่งสู่ปศุสัตว์สีเขียว เชื่อว่ากลยุทธ์ที่ได้จาการสัมมนาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ของไทยชนิดอื่นๆ ได้ 

นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาพบว่าการผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาเมื่อเทียบผลผลิตต่อกิโลกรัมมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าประเทศคู่แข่งทั้งบราซิล และอาร์เจนตินาประมาณ 10 เท่า ทำให้ถั่วเหลืองสหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคู่แข่ง ขณะที่ ประเทศไทยมีการนำเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ปีละกว่า 6 ล้านตัน ทำให้เชื่อว่า การสั่งซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ในอนาคตจากนี้ ผู้ประกอบการจะพิจารณาเรื่องที่มาของวัตถุดิบก่อนคิดถึงเรื่องราคา มาตรฐานของถั่วเหลืองจึงเป็นต้นแบบที่ดีในการประยุกต์ใช้กับการจัดหาวัตถุดิบชนิดอื่นๆ เพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ต่อไป 

"แม้ถั่วเหลืองจะเป็นสินค้านำเข้า แต่ถือเป็นหนึ่งในข้อต่อของห่วงโซ่ปศุสัตว์ที่เราต้องให้ความสำคัญ ขณะที่วัตถุดิบหลักภายในประเทศอย่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์จากข้าวและปลาป่น ก็อยู่ในแผนการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเช่นกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้อาหารที่ส่งออกจากไทย สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ รวมทั้งก้าวข้ามอุปสรรคด้านการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหาร รวมทั้งมาตรการทางภาษีคาร์บอนของกลุ่มอียูด้วย" นายพรศิลป์ กล่าว

...

นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยจะต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ และต้องทำงานร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์ โดยเริ่มต้นทางรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเป็นแกนหลักผลักดัน การทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยได้มาตรฐาน GAP คือ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าว หรือ มันสำปะหลัง เช่น การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรไม่เผาตอซังข้าวโพด ที่เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ พยายามเสนอเรื่องนี้กับทางกระทรวงเกษตรฯ แต่ก็ยังไม่คืบหน้ายืนยันยังไม่หมดหวัง ในการผลักดันพืชอาหารสัตว์ให้ได้ GAP พร้อมจะก้าวต่อไปเป็นขึ้นให้ถึงเป้าหมาย

...

นายพรศิลป์ กล่าวด้วยว่า รวมทั้งอยากทำให้ข้าวไทยปรับกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อสร้างมาตรฐานคาร์บอนต่ำ ไม่ใช่มีแค่เรื่องผลิตภัณฑ์และราคาต้องเรียนว่า ปัญหาที่เราจะเจอจากนี้เป็นเรื่องใหม่ ไทยจะต้องทันการพัฒนาห่วงโซ่อาหารสัตว์ ที่ทางผู้ค้าอาหารสัตว์เองก็ต้องลงไปช่วยฝั่งเกษตรกร เพื่อรับมือกับมาตรการใหม่ๆ ของทางตลาดสินค้าไก่ส่งออก เพราะทางกลุ่มอียูเริ่มใช้มาตรการภาษีคาร์บอน หรือ CBAM วันนี้คู่แข่งของเราในภูมิภาคอาเซียน เขาเริ่มทำมาตรฐานนำเราไปแล้ว จึงฝากให้ ก.เกษตรฯ ผลักดันการทำ GAP ทำให้การปลูกพืชมีมาตรฐาน โจทย์คือทำอย่างไรให้ยั่งยืน รวมทั้ง มาตรฐานการปลูกถั่วเหลืองในไทยด้วย

...