หน้าแรกแกลเลอรี่

นายกลูกยางไทย ไขข้อข้องใจ “วอลเลย์บอลหญิงไทย” ไปเล่น “เวิลด์กรังด์ปรีซ์” ได้อย่างไร?

ไทยรัฐออนไลน์

8 มิ.ย. 2566 14:00 น.

สมพร ใช้บางยาง นายกลูกยางไทย ไขข้อข้องใจ “วอลเลย์บอลหญิงไทย” เข้าไปเล่น “เวิลด์กรังด์ปรีซ์” ได้อย่างไร?

วันที่ 8 มิ.ย. 66 อย่างที่ทราบกันดีว่า วอลเลย์บอลหญิงไทย เป็น 1 ใน 12 ทีมหลักใน วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023 หรือ VNL 2023 ที่ได้สิทธิ์พิเศษคือจะไม่ตกชั้น ต่อให้ได้ลำดับสุดท้ายก็ตาม เนื่องจากเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่เป็นสมัยเป็นเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาเป็น วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก ในปี 2018

ทำให้เกิดความสงสัยในหมู่แฟนวอลเลย์บอลไทยว่า วอลเลย์บอลหญิงไทย เข้าไปเล่น “เวิลด์กรังด์ปรีซ์” ได้อย่างไร เรื่องนี้นายสมพร ใช้บางยาง เปิดเผยกับ ทีมข่าวไทยรัฐสปอร์ต ว่า “ปี 2001 ไทยรับเป็นเจ้าภาพจัด วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ปีนั้นในเกมชิงที่ 3 ไทยสร้างประวัติศาสตร์ เอาชนะ ญี่ปุ่น ได้เป็นครั้งแรก โดยเฉือนชนะไป 3-2 เซต”

“ทางสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) จึงเชิญไทยไปแข่ง เวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2002 (จบอันดับ 8) หลังจากนั้นไทยก็ได้ไปแข่งทุกปีจนถึงปี 2017 ก่อนที่ เวิลด์กรังด์ปรีซ์ จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก หรือ VNL ในปี 2018

สำหรับรายชื่อนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ชุดลุย เวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2002 มีดังนี้

1. วรรณา บัวแก้ว

2. สมหมาย นิยมพล

3. แอนณา ไภยจินดา

4. นุรักษ์ นกพุทธา

5. ปลื้มจิตร์ ถินขาว

6. ศรัณยา ศรีสาคร

7. นฤมล ขานอัน

8. สุภาพ ผงทอง

9. ปิยะมาศ ค่อยจะโป๊ะ

10. นันทกานต์ เพชรพลาย

11. อำพร หญ้าผา

12. วราพรรณ ถิ่นพระบาท

13. วัลภา จิตอ่อง

14. พัชรี แสงเมือง

15. ลัดดา เดือนฉาย

16. วิสุตา หีบแก้ว

17. จันจิรา วงษ์ชาลี

18. บัวอาด ฤทธิ์ธวัช