ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ชุมพร-ระนองเกมส์ เงิน สะพัดร่วม 100 ล้านบาท ขณะ ที่ยกน้ำหนักวันสุดท้าย วีรภัทร บุญหลั่ง จากนครราชสีมา และดวงอักษร ใจดี จากนครสวรรค์ ต่างกวาดคนละ 3 เหรียญทอง และทุบสถิติเดิมทั้ง 3 ท่าลงอย่างราบคาบ ส่วนทีมจอมพลังนครราชสีมาครองแชมป์ ได้เหรียญไปมากที่สุด 15 เหรียญทอง ขณะที่ทีมกรีฑานครศรีธรรมราช เป็นเจ้าเหรียญทองกีฬานี้ ทำไปได้ 9 เหรียญทอง
การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 “ชุมพร-ระนองเกมส์” ที่จังหวัดชุมพรและระนอง เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดได้ประสบการณ์อันล้ำค่าในการจัดครั้งนี้ ดังนั้น ตนมีความมั่นใจว่าในอนาคต ชุมพรจะสามารถจัดการเเข่งขันรายการกีฬาอื่นๆ หรือรับหน้าที่จัดเเข่งขันกีฬาทัวร์นาเมนต์อื่นได้อีกในภายภาคหน้า ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับนายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท.บ้างเเล้ว ซึ่ง กกท. ก็เห็นถึงความตั้งใจในการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาใหญ่ๆ หาก กกท. และสมาคมกีฬา อยากให้จังหวัดรับหน้าที่จัดกีฬาอะไร ตนในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเเละทีมงานพร้อมรับฟังข้อเสนอ ซึ่งเชื่อว่ากีฬาจะเป็นตัวกระตุ้นเศรฐกิจ รวมถึงทำให้พี่น้องประชาชนชาวชุมพรภาคภูมิใจ ที่จะได้มีโอกาสต้อนรับเเขกผู้มาเยือนเเละทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการเเข่งขัน
ขณะที่นายนพพร อุสิทธิ์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดชุมพร กล่าวว่า นอกจากกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งนี้แล้ว ชุมพรยังมีงานเปิดโลกทะเล และงานโอทอป ที่จัดควบคู่กันไปในเวลาเดียวกันด้วย ทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดตลอดการแข่งขันคึกคักเป็นอย่างมาก คาดว่าจะมีเงินสะพัดในจังหวัดไม่น้อยกว่า 50-60 ล้านบาท ส่วนนายพรรภพ อุ่นเสียม ผู้อำนวยการสำนักงาน กกท. จังหวัดระนอง กล่าวว่า เศรษฐกิจภายในจังหวัดระนอง ก็คึกคักไม่แพ้กัน มีการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าต่างๆ และนอกจากนักกีฬา ก็ยังมีผู้ติดตามเดินทางมา โรงแรมในจังหวัดเต็มตลอดการแข่งขัน ทำให้เป็นที่คาดว่าจะมีเงินสะพัดในจังหวัดมากกว่า 30 ล้านบาท
ส่วนผลเหรียญทองที่น่าสนใจ มีดังนี้ ว่ายน้ำ ชิง 7 เหรียญทอง ฟรีสไตล์ 400 ม.หญิง สุดที่รัก วัชรบุศนาคำ (นนทบุรี), ผีเสื้อ 200 ม.ชาย จิรกิตติ์ โสมนัส (กรุงเทพฯ), กรรเชียง 50 ม.หญิง ฝนปราย แย้มสรวล (กรุงเทพฯ), เดี่ยวผสม 200 ม.ชาย จิรภัทร ริมประนาม (กรุงเทพฯ), กบ 100 ม.หญิง นวพรรษ พิษณุวงษ์ (กรุงเทพฯ), ฟรีสไตล์ 100 ม.ชาย เขต ชำนาญวาด (สุพรรณบุรี), ผลัดฟรีสไตล์ 4 คูณ100 ม.หญิง กรุงเทพฯ, ยกน้ำหนัก วันสุดท้าย ชิง 9 เหรียญทอง รุ่น 105 กก.ชาย วีรภัทร บุญหลั่ง (นครราชสีมา) กวาด 3 เหรียญทอง จากท่าสแนตช์ 147 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 182 กก. และน้ำหนักรวม 329 กก. (ทำลายสถิติเดิมทั้ง 3 ท่า), รุ่นมากกว่า 75 กก.หญิง ดวงอักษร ใจดี (นครสวรรค์) กวาด 3 เหรียญทอง จากท่าสแนตช์ 118 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 151 กก. และน้ำหนักรวม 269 กก. (ทำลายสถิติเดิมทั้ง 3 ท่า), รุ่นมากกว่า 105 กก.ชาย นันธวัติ เอี่ยมสำอาง (นครราชสีมา) กวาด 3 เหรียญทอง จากท่าสแนตช์ 140 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 170 กก. และน้ำหนักรวม 310 กก. จบการแข่งขัน นครราชสีมา ครองแชมป์ ได้ไปมากที่สุด 15 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดงกรีฑา วันสุดท้าย ชิง 11 เหรียญทอง เดิน 10,000 ม.ชาย วิเชียร หมือโปกู่ (เชียงใหม่), วิ่ง 5,000 ม.หญิง ชนัญชิดา ฤทธิพันธ์ (ขอนแก่น), ขว้างจักรชาย ธงชัย ศิลามูล (กรุงเทพฯ), ทุ่มน้ำหนักหญิง อาทิมา เสาวไพบูลย์ (กรุงเทพฯ), เขย่งก้าวกระโดดชาย ณัฐพงศ์ ศรีนนทา (สุรินทร์), กระโดดสูงหญิง จรัสภร เพ็ชรมณี (สุราษฎร์ฯ), วิ่งวิบาก 2,000 ม.หญิง อรปรียา เกาหน้อย (พะเยา), วิ่งวิบาก 2,000 ม.ชาย ยุทธศิลป์ มีคล้าย (กรุงเทพฯ),วิ่งผลัด 4 คูณ 400 ม.หญิง นครราชสีมา, วิ่งผลัด 4 คูณ 400 ม.ชาย นครศรีธรรมราช, อัฎฐกรีฑาชาย สุรศักดิ์ วรรณทอง (อ่างทอง) สรุป นครศรีธรรมราช เป็นเจ้าเหรียญทองกีฬานี้ ทำไปได้ 9 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 7 เหรียญทองแดงเรือพาย ชิง 21 เหรียญทอง ระยะ 500 ม. สมุทรปราการ กวาดไป 7 เหรียญทองจากเรือคยัคสลาลอม 1 คนชาย ไม่เกิน 15 ปี ปิยณัฐ เกิดสุข, เรือแคนูสลาลอม 1 คน หญิง ไม่เกิน 15 ปี กนกพร พุกพันธุ์, เรือคยัคสลาลอม ชาย ไพทัศน์ งามสง่า, เรือแคนูสลาลอม หญิง ณัฐณิชาช์ อมรวิชัยวงศ์,เรือยาว 5 ฝีพาย ชาย, เรือยาว 5 ฝีพาย หญิงและเรือยาวมังกร 10 ฝีพาย หญิง ขณะที่เชียงใหม่และนครศรีธรรมราชเก็บไปทีมละ 3 เหรียญทอง เชียงใหม่ได้จากคยัค 1 คนชาย นครินทร์ ขันแคล้ว, คยัค 2 คนหญิง กานต์ธิดา หนูรุ่น-พรร์นับพัน พวงไม้มิ่ง และคยัค 1 คนหญิง พรร์นับพัน ส่วนนครศรีธรรมราชได้จากแคนู 1 คนชาย อัษฎาวุธ สุขใส แคนู 2 คน ชาย อัษฎาวุธ สุขใส-ปิยะวร มาลาเวช และเรือยาวมังกร 10 ฝีพาย ชายผลรายการอื่น กรรเชียง 1 คนชาย นวมินทร์ ดีน้อย (เชียงราย), กรรเชียง 2 คน หญิง ธิลาดา พิทักษ์เผ่าไทย-ทัศนี ม่านฟ้าสีคราม (แม่ฮ่องสอน), กรรเชียง 1 คนชาย พายคู่ เกริกชัย พาพูล (สุรินทร์), เรือพายคยัค 2 คน ชาย บัญญพนต์ หล้ายม-พิพัฒน์ ประมวลสุข (อ่างทอง), กรรเชียง 2 คน ชาย ศิริพงษ์ ชัยวิชิตชลกุล-ศิวกร วงศ์พิณ (ระยอง), กรรเชียง 1 คน หญิง เปรมฤทัย หงษ์ทอง (สุรินทร์), เรือคยัคสลาลอม หญิง ศิริวรรณ มีโพธิ์ (ลำพูน), เรือคยัคสลาลอม 1 คน หญิง ไม่เกิน 15 ปี ปัทมพรโหยย้อย (ลำพูน)
สรุปเหรียญรางวัลที่แต่ละจังหวัดได้รับ เรียงตามลำดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง 5 อันดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 กรุงเทพฯ 64-58-60, อันดับ 2 ชลบุรี 34-27-25, อันดับ 3 นครศรีธรรมราช 30-28-34, อันดับ 4 นครราชสีมา 25-21-8, อันดับ 5 สุพรรณบุรี 20-24-21ฟุตบอล ทีมชาย รอบ 8 ทีม “เจ้าภาพ” ชุมพร ชนะ สงขลา 3-0 เข้ารอบรองชนะเลิศไปพบ “แชมป์เก่า” ชลบุรี อีกคู่ สมุทรปราการชนะจุดโทษ พะเยา 4-2 (เสมอในเวลา 0-0) เข้าไปตัดเชือกกับนราธิวาส ส่วนทีมหญิง รอบ 8 ทีม ชลบุรีถล่มพิษณุโลก11-0 เข้าไปพบ “แชมป์เก่า” ศรีสะเกษ อีกคู่ กรุงเทพฯ พลิกแซง อุทัยธานี 2-1 เข้ารอบรองฯ ไปพบขอนแก่น โดยรอบตัดเชือกจะแข่งวันที่ 23 มี.ค.