หน้าแรกแกลเลอรี่

ปวดเข่าแก้ยังไง

ฟ้าคำราม

17 เม.ย. 2567 05:20 น.

ปวดเข่าด้านใน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งปัญหาจากกล้ามเนื้อที่ส่งผลต่ออาการ “ปวดเข่าด้านใน” กัน คือ กล้ามเนื้อ “VMO หรือ Vatus Medailis Oblique” ซึ่งปัญหาจาก VMO ทำให้มีอาการปวดเข่าด้านใน และมักปวดมากขึ้นเมื่อเดิน วิ่ง หรือขึ้น-ลงบันได

VMO เป็นกล้ามเนื้อที่วางตัวบริเวณด้านในของเข่า (VMO ส่วนหนึ่งของ Vatus Medialis Muscle และมีจุดเชื่อมกับเอ็นของกล้ามเนื้อขาหนีบ Adductor Magnus) โดย VMO ทำหน้าที่ช่วยในการสร้างความมั่นคง (Stability) ของเข่าขณะที่มีการเหยียดเข่าหรือขณะที่เข่ามีการเคลื่อนไหว

VMO เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อ Quadriceps กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี โดยมีการทำงานร่วมกัน หากกล้ามเนื้อขาดความสมดุล ไม่ว่าจะเป็น VMO เองที่แข็งแรงไม่เพียงพอ หรือมีการเกร็งตัวมากกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้านในตามมาได้

หากปล่อยให้ VMO มีการบาดเจ็บเป็นเวลานานทิ้งระยะไว้จนเรื้อรัง อาจส่งผลต่อความสมดุลของกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ทั้งด้านในและด้านนอก ที่เห็นได้ชัดคือ การวางตัวของกระดูกสะบ้า (Mal-Alignment) อาจมีความผิดปกติและรู้สึกเข่าไม่มั่นคง (Instability) ตามมาได้

วิธีดูแลตนเองเบื้องต้น

พักการใช้งานร่วมกับการใช้ความเย็น (Cold Therapy) เช่น แผ่นประคบเย็น (Cold Pack) แช่น้ำแข็ง (Ice Baths) ในระยะที่มีการอักเสบหากพ้นระยะนี้ สามารถใช้ความร้อน (Hot Therapy) เพื่อลดอาการปวดได้

การกด (Self-Myofascial Release) ด้วยตนเอง หรือใช้ลูกบอล (Ball Trigger Point) หรือโฟม (Roller Foam) โดยเน้นกดแช่ค้าง 10-15 วินาที 3-5 ครั้ง 2-5 นาที กดจนรู้สึกคลาย พยายามอย่าขยี้เพื่อป้องกันการอักเสบที่ตามมา โดยเน้นที่กล้ามเนื้อ

โดยกล้ามเนื้อต้นขา Qudriceps ทั้งด้านนอก ตรงกลาง และด้านใน (Vatus Lateralis และ Vatus Medialis Muscle) เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่มีการทำงานร่วมกัน

บริเวณ VMO ปัญหาหลักที่มีอาการปวด

กล้ามเนื้อขาหนีบ (Adductors Muscle) เนื่องจากกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กัน ความตึงตัวของกล้ามเนื้อสามารถดึงรั้งกันไปมาได้ การยืดเหยียด (Stretching) โดยยืดกล้ามเนื้อ Qudriceps และกล้ามขาหนีบ
สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง (Core Muscle) และกล้ามเนื้อก้น เน้น Glute Isolate ในช่วงแรกของการฝึกก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มความยากเป็น Functional Training เพื่อให้มีกำลังเพียงพอต่อการใช้งาน และลดการบาดเจ็บที่จะเกิดซ้ำ

การมองปัญหา เราไม่ควรมองเพียงเหตุหรือจุดที่เรามีอาการเจ็บ หรือแก้ปัญหาแค่ “เข่าด้านใน” เท่านั้น
เราอาจต้องลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ที่มีการทำงานร่วมกัน รวมถึงสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขึ้นมาด้วย เพื่อให้สามารถกลับไปใช้งานได้อย่างยั่งยืน...

******

ใครที่ปวดเข่าด้านในอยู่ เพจ May Clinic คลินิกนักวิ่งโดยหมอเมย์ ของ พญ.สมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูชื่อดัง ได้แนะนำให้เรารู้จักว่าอาการนี้เป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตนเองต้องทำเช่นไร เอาไว้ให้เราได้ทราบเรียบร้อยแล้ว

ไม่เพียงแค่นั้น “หมอเมย์” ยังบอกถึงการต้องดูแลกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยรอบด้วย ไม่ใช่เจ็บตรงไหน รักษาแค่ตรงนั้นแล้วจะหายเลย

เพราะอย่างที่ทราบ โครงสร้างร่างกายของเรา มีหลายส่วนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน...

ฟ้าคำราม

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่