หน้าแรกแกลเลอรี่

วิ่งช้า vs วิ่งเร็ว แบบไหนเบิร์นดีกว่า

ฟ้าคำราม

3 มิ.ย. 2566 05:06 น.

เชื่อว่าหลายคนคงสงสัย คิดไม่ตกเป็นแน่ ระหว่าง วิ่งช้า vs วิ่งเร็ว แบบไหนเบิร์นกว่า ทางเพจ วิ่งไปด้วยกันนะ ให้ข้อมูลเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว ไปติดตามกัน

หากเราเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ร่างกายจะเผาผลาญไขมันมากกว่าแป้ง เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เข้มข้น (Low Intensity Workout) ทำให้เรายืนระยะ วิ่งได้ไกลและนานกว่า การวิ่งที่ใช้ความหนักมากกว่าเลยเหนื่อยเร็วกว่า ทำให้วิ่งได้ไม่นานจนถึงระยะเวลาที่ร่างกายจะดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน นั่นเพราะร่างกายจะเริ่มเผาผลาญไขมันเมื่อเราเดินหรือวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 30 นาทีขึ้นไป แต่หากระหว่างทาง เราหยุดพักก่อน ร่างกายจะเรียนรู้และย้อนกลับไปเอาพลังงานจากส่วนอื่นมาใช้ ไม่ได้เบิร์นไขมันเสียที

การเดินและวิ่งเหยาะ (หรือจ๊อกกิ้ง) ที่ความเข้มข้นปานกลาง หรือการออกกำลังกายแบบ Aerobic นอกจากเบิร์นไขมันได้ดีแล้ว ยังสร้างความทนทาน (Endurance) และความอึด (Stamina) และหัวใจแข็งแรงอีกด้วย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ทุกโอกาส แม้คุณเป็นมือใหม่หัดวิ่งก็ตาม แต่ถ้ามองในเรื่องกล้ามเนื้อและความฟิตของร่างกาย การวิ่งเร็ว ตอบโจทย์ได้ดีกว่า แม้จะเบิร์นไขมันน้อยกว่าก็ตาม เพราะร่างกายจะเผาผลาญพลังงานโดยรวม ทั้งจากไขมันและแป้ง ข้อดีคือร่างกายจะยังคงเผาผลาญต่อเนื่องแม้จะวิ่งเสร็จแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า Afterburn Effect (EPOC/Excess Post-Exercise Oxygen Consumption)

เดิน/วิ่งเหยาะ (Aerobic) = เข้มข้นปานกลาง > เบิร์นไขมันดี แต่ใช้แคลอรีน้อย วิ่งเร็ว (Anaerobic) = เข้มข้นสูง > หายใจสั้น ออกซิเจนเข้ากระแสเลือดต่ำ > เบิร์นไขมันไม่ทันเลย ดึงพลังงานจากไกลโคเจนมากกว่า

ยิ่งเหงื่อออก ยิ่งเบิร์น จริงหรือ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการที่เราวิ่งแล้วเหงื่อออกเยอะๆ นั่นคือเบิร์นไขมันแล้วนะ บางคนใส่เสื้อหนาๆ เช่น เสื้อวอร์ม หรือชุดตะกั่ว ขณะวิ่งเพื่อหวังให้เหงื่อออก รีดน้ำ รีดไขมัน วิ่งเสร็จชั่งน้ำหนักแล้วเลขน้อยลง ซึ่งน้ำหนักตัวเราลดลงจริงแต่มันคือปริมาณเหงื่อที่เสียไป ส่งผลให้น้ำในกระแสเลือดลดลง เลือดจะข้นและไปเลี้ยงสมองน้อย ไม่ได้เกี่ยวกับการเบิร์นไขมันแต่อย่างใด

ฟ้าคำราม
socialfox@hotmail.com