หน้าแรกแกลเลอรี่

รู้จักรองช้ำ

ฟ้าคำราม

22 ก.พ. 2566 05:05 น.

รองช้ำหรือเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis)

อาการ : เจ็บส้นเท้าใต้ส้นด้านในฝ่าเท้า เจ็บหลังส้นเท้า ทั้งหมดหรือจุดใดจุดหนึ่ง ความเสี่ยง : พบในคนทุกวัยโดยเฉพาะวัยกลางคน 40-60 ปีมีอาชีพที่ต้องนั่งนาน ยืนนาน เดินนาน หรือแม้แต่นักกีฬาที่ active มากๆ ใช้ร่างกายมาก หนักหน่วง เช่น นักไตรกีฬา นักวิ่งอัลตรามาราธอน เกิดการเสียสมดุลของกล้ามเนื้อ

การวินิจฉัย : ประวัติ ตรวจร่างกายมีจุดเจ็บก็เพียงพอวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : MRI Xray อาจพบการอักเสบของเอ็นฝ่าเท้า หากพบกระดูกงอก หรือ spur โดยทั่วไปอาจจะไม่เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดได้ (50% heel pain ไม่มี heel spur ดังนั้น heel spur ไม่ใช่สาเหตุของ heel pain อย่างมีนัยสำคัญอย่างมีสถิติ)

การรักษาแบบเดิมๆแบบที่เรียนๆกันมา medication : NSAIDs ไม่ค่อยได้ผลเมื่อใช้เพียงยาอย่างเดียว มักดีกว่าเมื่อใช้ร่วมการรักษาอื่นๆกายภาพบำบัด : ได้ผลเพียงบางอย่าง ดังที่จะกล่าวถัดไปแผ่นรองรองเท้า : ช่วยในแง่ของการลดการกระแทกจุดที่ปวดกับรองเท้า night splint : ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อน่องในเวลากลางคืน ว่าไปก็พอช่วยได้ แต่มักไม่ค่อยหายด้วย splint อย่างเดียว

รองช้ำพักมานานโข รักษามาแล้วสารพัดชนิด ดีขึ้น เป็นอีก...วนไปวนมา ลองมาฟังทางนี้

ระยะสิบปีก่อนหน้านี้ เราพูดถึง muscle imbalance กันมากขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายและนำหลักการมาแก้ไขอาการรองช้ำได้ดี

key problem คือ muscle imbalance บางมัด tight บางมัด weak บางมัดทั้ง tight และ weak ไปพร้อมๆกัน ทำให้เสียสมดุลในการเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อใช้พลังงานไม่ได้ มี energycrisis กล้ามเนื้อที่ tight ยังไงก็ weak ที่ว่ากล้ามเนื้อที่หดเกร็งจนกอดรัดเป็น trigger point หรือ taut band นั้น จะสูญเสียทั้งความยาว (length) พิสัยข้อต่อ (Range of Motion, ROM) ความยืดหยุ่น (Flexibilty) ความทนทาน (endurance) และกำลังของกล้ามเนื้อ (Power)

อีกอย่างที่พบได้มากขึ้นคือ กล้ามเนื้อลีบไปเลย (Atrophy) พบได้ในเคสหลังผ่าตัดเอ็นไขว้หัวเข่า หรือปวดเข่านานๆจนกล้ามเนื้อฝ่อลีบเช่นเดียวกัน และเป็นสาเหตุของอาการของคนไข้บางส่วนที่พักจากวิ่งนานแล้ว (ตามเวลาที่บทความการวิจัยต่างๆ คาดคะเนไว้) แล้วแต่ก็ยังไม่หาย

คนไข้หลายๆคนมีอาการบาดเจ็บ พักสามเดือนกลับมาวิ่ง กม.เดียวก็เป็นอีก แม้ว่าส่วนใหญ่พักมักจะดีขึ้น

รองช้ำไม่มีสูตรสำเร็จเลยในการรักษาคนไข้มาระยะหนึ่ง บางคนมาสองวีกหายแล้ว บางคนหลายเดือน แต่ค่าเฉลี่ยเวลาก็ไม่แย่ ถ้าไปถูกทาง กล้ามเนื้อน่องเป็นตัวอย่างกล้ามเนื้อที่มักจะมีปัญหาซ่อนอยู่เวลาเป็นรองช้ำ อาจจะไม่เคยเจ็บเลยมาตลอดชีวิต...แต่ตึงมาตลอดชีวิตเช่นกัน บางคนยังไม่รู้เลยว่าตึง

ตึงของใครๆก็ไม่เท่ากัน บางคนยืดได้โยคะได้ กางขาก้มหน้าแตะพื้นได้ (นึกท่าโยคะตามไปด้วย) แต่ก็มี trigger point ที่ latent หรือ active อยู่นั่นเอง

แล้วมัดที่ weak จะพบว่า weakness จะเจอตอนเอากล้ามเนื้อมาใช้ตอน function เพราะมักเป็น neuromuscular fatigue (เช่นตอนวิ่ง)

โดยเฉพาะตอนวิ่งมาราธอนหรือวิ่งนานๆ กล้ามเนื้อที่ weak จะเริ่มใช้งานได้ไม่มาก และจะใช้บังคับให้กล้ามเนื้อที่ tight แต่ยังทำงานได้มาทำงานแทน บ่อยเข้าก็ทำให้บาดเจ็บทั่วไปหมด

Treat right muscles with right techniques and timeline รักษาด้วยวิธีที่ถูก กล้ามเนื้อที่ถูกต้องได้อย่างถูกเวลา จะทำให้สามารถลดระยะเวลาในการรักษาได้ แล้วจะรู้ว่ารองช้ำหายได้แบบปลิดทิ้งในเวลาไม่เกินเดือน

ลืมไปได้เลยกับการแช่น้ำร้อนวนๆไป

*****

เพจเฟซบุ๊ก May Clinic คลินิกนักวิ่ง

โดยหมอเมย์ ของ พญ.สมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู อธิบายปัญหารองช้ำไว้อย่างละเอียดทีเดียว

โดยระบุไว้ว่า รองช้ำของแต่ละคน ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นลองศึกษาข้อมูล และค่อยๆ รักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เชื่อว่าถ้ารักษาถูกทาง อาการดังกล่าวหายได้ไม่ยาก...

ฟ้าคำราม