หน้าแรกแกลเลอรี่

11 เคล็ดลับ

ไทยรัฐฉบับพิมพ์

9 ก.ค. 2565 04:35 น.

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ การไม่บาดเจ็บใดๆ เป็นสวรรค์ของนักวิ่ง

โปรดจงปฏิบัติให้ได้ตามที่เพจ “วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี” แนะนำไว้ สวรรค์ของท่านคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

11 เคล็ดลับในการป้องกันการบาดเจ็บจากการวิ่ง

1.ฟังร่างกาย อย่าละเลยความเจ็บปวด เจ็บนิด หน่อยก็โอเค แต่ถ้าคุณสังเกตเห็นความเจ็บปวด ต่อเนื่องในกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ซึ่งไม่ได้ดีขึ้นเลยแม้ว่าจะพักผ่อนแล้วก็ตาม

2.วางแผนการวิ่ง ก่อนเริ่มต้นการวิ่ง ให้ออกแบบ หรือเลือกแผนการวิ่งที่สอดคล้องกับความสามารถด้านฟิตเนสของร่างกาย ณ ปัจจุบัน รวมทั้งเลือกให้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของตัวเองด้วย

3.วอร์มอัปและยืดเหยียด อาการบาดเจ็บส่วนมากเกิดจากการยืดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ดังนั้นก่อนและหลังวิ่ง ให้ยืดกล้ามเนื้ออย่างละเอียด โดยเฉพาะน่อง เอ็นร้อยหวาย ขาหนีบ และควอดริเซพ นอกจากนี้ ให้วอร์มร่างกายเป็นเวลาห้านาที เช่น เดิน ก่อนที่จะเริ่มยืดกล้ามเนื้อ เพราะแม้แต่การยืดกล้ามเนื้อก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

4.ฝึกความแข็งแกร่ง เพิ่มการฝึกด้วยน้ำหนัก เช่น เวทเทรนนิ่ง และการออกกำลังกายหน้าท้องให้กับกิจวัตรประจำวัน สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และพัฒนาความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อแกนกลาง

5.Cross train ผสมผสานการออกกำลังกายหลายๆอย่าง อย่าวิ่งอย่างเดียว ลองว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เล่นโยคะ หรือทำกิจกรรมอื่นๆสลับกันไป วิธีนี้จะช่วย ป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป ซึ่งมัก เกิดขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกายแบบเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก

6.แต่งตัวให้เหมาะสม สวมเสื้อผ้าน้ำหนักเบา และระบายอากาศได้ เพื่อช่วยดูดซับความชื้นและระบายความร้อนออกจากร่างกาย สวมหมวกเพื่อป้องกันแสงแดด

7.ใช้รองเท้าให้เหมาะสม สวมถุงเท้าและรองเท้าที่กระชับและรองรับแรงกระแทกได้ดี และแนะนำให้สังเกตรองเท้าวิ่งหลังจากใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ถ้าพื้นรองเท้าสึกหรอ แสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยน รองเท้าคู่ใหม่แล้ว นอกจากนี้ ถ้าคุณเป็นคนมีปัญหาเรื่องเท้า เช่น เท้าแบนเท้าล้ม ก็ให้เลือกรองเท้าที่เหมาะกับประเภทเท้าของตัวเองด้วย จะได้ซัพพอร์ตการวิ่งอย่างเต็มที่และลดโอกาสบาดเจ็บ

8.เลือกเส้นทางวิ่งให้ดี สำหรับนักวิ่งมือใหม่ ให้วิ่งบนพื้นราบเรียบ หลีกเลี่ยงเนินเขาสูงชัน จนกว่าร่างกายจะคุ้นชินและปรับตัวได้

9.ปลอดภัย การบาดเจ็บอาจจะมาจากอันตรายอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ หรือโจรผู้ร้าย ดังนั้น ให้วิ่งในช่วงกลางวัน หรือในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เก็บโทรศัพท์มือถือไว้ให้มิดชิด หากใช้หูฟังให้ตั้งระดับเสียงให้ต่ำพอที่จะได้ยินเสียงรถยนต์และเสียงอื่นๆ หรือถ้าให้ดีก็ชวนเพื่อนไปวิ่งด้วย

10.สภาพอากาศ ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกไปวิ่ง อย่าออกไปวิ่งข้างนอก ในสภาพอากาศร้อนจัด หรือฝนพรำ และมีความชื้นสูง

11.ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าลืมดื่มน้ำมากกว่าปกติ 1.5 ถึง 2.5 แก้วในวันที่ออกไปวิ่ง ถ้าวิ่งนานกว่า หนึ่งชั่วโมง ให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อเติมอิเล็กโทรไลต์ ที่สูญเสียไปกับเหงื่อระหว่างวิ่งด้วย.

ยุบสภา