หน้าแรกแกลเลอรี่

รู้จัก เซ็นทรัล โคสต์ สเตเดียม : รังเหย้า "เซ็นทรัล โคสต์ มาริเนอร์ส" ที่เป็นมากกว่าสนามฟุตบอล

ไทยรัฐออนไลน์

1 ต.ค. 2567 11:56 น.

รู้จัก เซ็นทรัล โคสต์ สเตเดียม รังเหย้าของ "เซ็นทรัล โคสต์ มาริเนอร์ส" ที่เป็นมากกว่าสนามฟุตบอล ก่อนที่ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" จะยกพล ฟาดแข้งด้วยในวันนี้ ในศึก AFC CHAMPIONS LEAGUE ELITE 2024-25 เกมที่ 2

จุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เกิดสนามแห่งนี้ขึ้น ต้องย้อนกลับไปในปี 1911 เมื่อ สภา เอรินาไชร์ ได้เสนอให้สร้างสวนสาธารณะ ที่มีสนามกีฬา บนชายฝั่งของ บริสเบน วอเตอร์ โดยตอนนั้นการก่อสร้างมีอุปสรรคพอสมควร ทั้งการที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก ที่จะต้องนำมาถมที่ รวมถึงการที่ สภา ต้องซื้อที่ดินส่วนบุคคลที่อยู่ละแวกนั้น ตลอดจนต้องรื้อถนนบางส่วน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 

สนามแห่งนี้ที่ตอนแรกใช้ชื่อ วอเตอร์ไซด์ พาร์ค เปิดให้บริการในปี 1915 โดยที่ระหว่างนั้นมีการเพิ่มสนาม คริกเก็ต เข้ามาในปีเดียวกัน ทั้งยังมีการถมที่บริเวณชายฝั่งเพิ่มเติม ทำให้ขนาดของสวนสาธารณะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จนในปี 1939 มีการสร้างสนามโบว์ลิง รวมถึง สนามเทนนิส เพิ่มมาอีก ก่อนที่สวนสาธานณะแห่งนี้จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เกรแฮม พาร์ค ซึ่งมาจากชื่อของนายกเทศมนตรีเมือง กอสฟอร์ด ในขณะนั้น

อีกหนึ่งอย่างที่มีการสร้างขึ้นมานั่นคือสนามหญ้า ที่จะถูกใช้เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ที่คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในช่วง ปลายทศวรรษ 1990 และมีกำหนดจะใช้งานในปี 1999 สำหรับ นอร์ธ ซิดนีย์ แบร์ส ทีมรักบี้ชื่อดัง ทว่าด้วยความที่อยู่ชายฝั่ง ทำให้ตอนนั้นเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้ายติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้การก่อสร้างเกิดความล่าช้า ก่อนที่จะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2000 ในชื่อ นอร์ท พาวเวอร์ สเตเดียม

ปี 2003 จากการ นอร์ธ ซิดนีย์ แบร์ส ทีมรักบี้ นอร์ธ ซิดนีย์ แบร์ส ทีมรักบี้ยุบทีมลงหลังในปีก่อน ทำให้ไม่มีทีมกีฬาหลักประจำของสนามแห่งนี้ ทำให้สนามแห่งนี้ถูกใช้จัดการแข่งขัน รักบี้ เวิลด์ คัพ 2003 ต่อมาปี 2005 มีผู้มาใช้เป็นสนามกีฬาหลักได้แก่ เซ็นทรัล โคสต์ มาริเนอร์ส ทีมฟุตบอลระดับเอลีก ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา ทำให้มีการแข่งขันกีฬาระดับชาติครั้งแรก ที่มีทีมลงเล่นในสนามกีฬาแห่งนี้ โดยที่หลังจากนั้นมีทีมรักบี้มาใช้งาน และอื่นๆ อีกมากมาย เช่นเดียวกับชื่อสนามที่ล่าสุดเมื่อ 2 ปีก่อน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สนามอินดัสทรีกรุ๊ป สเตเดียม 

ความพิเศษของสนามฟุตบอลแห่งนี้ บนความจุ 20,059 ที่นั่ง เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความพิเศษตรงที่ มีที่นั่งเพียง 3 ด้านเท่านั้น โดยที่อัฒจันทร์ทางทิศใต้จะถูกเปิดโล่ง ทำให้มองเห็น บริสเบน วอเตอร์ หรือ วิวทะเล ผ่านแนวต้นปาล์มที่ขึ้นตามชายหาด ทำให้เป็นอีกสนามที่หลายคนต้องไปเยือน โดยที่การเดินทางค่อนข้างสะดวกเพราะรถไฟเข้าถึง ชนิดที่รางรถไฟ อยู่ติดกับสนามเลย