หน้าแรกแกลเลอรี่

ส่องตะคริว

ไทยรัฐฉบับพิมพ์

7 มี.ค. 2567 04:30 น.

เอาจริงๆคงไม่มีใครไม่รู้คำว่า “ตะคริว”

อาการนี้แทบจะทุกคนคงจะเคยเป็นมาแล้ว

บทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก กับอาการนี้ให้มากขึ้น

เพจ “วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี” สรุปเอาไว้ให้แบบกระชับ ลองอ่านกันดู เพื่อเป็นประโยชน์

ตะคริว เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่น่าหงุดหงิดที่สุด

เพราะทำให้เราต้องหยุดวิ่งอย่างกะทันหัน แถมทำให้การวิ่งไม่สนุกอีกด้วย แต่เชื่อว่านักวิ่งส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์เป็นตะคริวขณะวิ่งกันมาแล้ว และเกิดความสงสัยว่า

จริงๆแล้วตะคริวมีสาเหตุมาจากอะไร

รวมถึงมีวิธีรักษาอาการตะคริวที่เกิดขึ้นระหว่างวิ่งยังไงบ้าง?

ความเชื่อของคนส่วนมากมักจะคิดว่า ตะคริวมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารบางชนิด แต่มีงานวิจัยมากมายได้ออกมาหักล้างทฤษฎีดังกล่าว ทำให้แนวความคิดของคนส่วนใหญ่ล่าสุดนั้น หันมาเชื่อกันว่า สาเหตุของการเกิดตะคริวมาจากระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

ซึ่งฟังดูสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า นักวิ่งมักจะเป็นตะคริวในตอนที่วิ่งหนักกว่าที่ได้ฝึกซ้อมมา นั่นจึงทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริวที่ดูมีความเป็นไปได้มากที่สุด

ตะคริวมักเกิดขึ้นเมื่อวิ่งเร็วเกินไปหรือวิ่งหนักเกินกว่าที่เตรียมตัวฝึกซ้อมมา ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและทำงานหนักมากเกินไป ซึ่งส่วนมากมักจะพบได้บ่อยครั้งในวันแข่งขัน

ประเด็นถัดมาก็คือ การหยุดพักเพื่อยืดกล้ามเนื้อระหว่างวิ่ง หรือการหยุดคลายกล้ามเนื้อเมื่อเป็นตะคริวระหว่างการแข่งขันนั้น เป็นวิธีป้องกันและรักษาตะคริวได้จริงไหม? นักกายภาพบำบัดแนะนำว่า

การยืดกล้ามเนื้อระหว่างวิ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ไม่ใช่วิธีแก้หรือวิธีป้องกันปัญหาที่แท้จริง มันเป็นเพียงการรีเซตการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเท่านั้น ซึ่งก็มีโอกาสที่จะทำให้เราเป็นตะคริวขณะวิ่งได้อยู่ดี

วิธีป้องกันการเกิดตะคริวระหว่างวิ่งที่ดีที่สุดคือ การฝึกซ้อมที่ถูกต้องและเหมาะสม ใกล้เคียงกับเวลาและระยะทางในการแข่งขันที่ตั้งใจไว้ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพและคุ้นชินกับการใช้งาน

นั่นจึงจะเป็นวิธีลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด.

ยุบสภา

คลิกอ่านคอลัมน์ “เรียงหน้าชน” เพิ่มเติม