การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพและคุณภาพของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ จึงมีการ กระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ที่สะอาดปลอดภัยกันมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อ 6 ปีที่แล้วมีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งสามารถสร้าง “เนื้อสัตว์ปลูก” (lab-grown meat) เป็นครั้งแรก แต่ต้นทุนในการทำก็นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ปกติ
ทว่าเรื่องนี้ได้จุดประกายให้บรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องหันมาสนใจกับเนื้อสัตว์ทางเลือกดังกล่าว การสร้างเนื้อสัตว์ปลูกนั้นจะใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากกล้ามเนื้อของสัตว์ โดยนำมาวางไว้บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่จะนำไปใส่ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพหรือถังหมัก เพื่อรองรับการเติบโตของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คล้ายๆกับวิธีที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือโยเกิร์ตนั่นเอง แต่ส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ต้นทุนสูงก็คืออาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนั้น ผู้ผลิตต้องพยายามปรับปรุงเทคโนโลยีและลดต้นทุนให้ได้ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ผู้ร่วมก่อตั้งไบโอเทค ฟู้ดส์ หนึ่งในองค์กรที่วิจัยเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ปลูก เผยเป้าหมายต้องการบรรลุขนาดการผลิตและได้รับอนุมัติตามกฎระเบียบภายในปี พ.ศ.2564 รวมถึงเน้นถึงความสำคัญของการย้ายห้องปฏิบัติการทดลองไปยังโรงงาน
...
ว่ากันว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์สัตว์อาจเป็นเมนูแห่งอนาคต และเทคโนโลยีใหม่นี้น่าจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตอบสนองความต้องการเนื้อสัตว์ ซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติเคยทำนายไว้ว่า ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าระหว่างปี พ.ศ.2543-2593.