สองเอกชนไทย-จีน ทำ MOU ร่วมพัฒนา "โรงผลิตไฟฟ้าขยะชุมชน" ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของโลก เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ อาคารสำนักงาน Aurorean Recovery Co., Ltd. นครกวางโจว ประเทศจีน ซึ่งมีบริษัท Vision Inspector and Engineering Co., Ltd. และนิคมอุตสาหกรรมกัญชาทางการแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีนายวิศารท์ พจน์ประสาท ประธานกรรมการบริหารฯ และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมด้วยคณะทำงาน ประกอบด้วย นายวิศรุต ฤทธิเลิศ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพิเศษ นายฉัตรชัย ทรัพย์ศรีสุวรรณ์ ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภาครัฐและภาคเอกชน นายมนูญ เพิ่มพิณทอง ผู้จัดการฝ่ายงานเชี่ยวชาญด้านเทคนิคพิเศษและเครื่องกล นายณัชวรกานต์ ภรญ์รัฐนันท์ ผู้จัดการฝ่ายด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวัดคุม นายมาโนช วังนาค ผู้จัดการด้านอาคารและสถานที่ได้ร่วมมือจัดทำบันทึกข้อตกลงการพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าขยะชุมชน ขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ กับบริษัท Aurorean Recovery Co., Ltd ประเทศจีน โดย Mr. Thomas Jing ตำแหน่งประธานบริหารบริษัทในเครือ Aurorean Energy (China) พร้อมฝ่ายบริหาร

...

โดยทั้งสองบริษัทได้ร่วมมือจัดทำบันทึกข้อตกลงการพัฒนาเทคโนโลยีและการเปิดตลาดพลังงานภายใต้ชื่อ Waste To Energy (Thai-China) ด้วยการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนด้วยระบบ Gasification เป็นการทำงานด้วยระบบการเผาด้วยความร้อนสูง ขนาด 1,000-1,200 องศาเซลเซียส ขึ้นไป โดยเตาเผาขยะนี้จะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ มลพิษกับสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ก่อให้เกิดสารไดออกซิน (สารก่อมะเร็ง) ปราศจากของเสียและกลิ่นทุกกรณี

จุดเด่นของการพัฒนาเตาเผาขยะ พลังงานไฟฟ้าชนิดนี้ เป็นการเผาขยะด้วยระบบแกนการหมุน 360 องศา ตลอดเวลาเผา ทำให้การเผาขยะมีคุณภาพสูงสุด หลังเสร็จสิ้นกระบวนการผลิตไฟฟ้าในแต่ละวันจะมีวัสดุตะกอนที่มีคุณสมบัติเป็นวัสดุก่อสร้างแบบอัดแรง วัสดุถมที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ พลังงานที่เหลือจากการควบแน่นของระบบกังหันไอน้ำมีความร้อน ความเย็น ซึ่งสามารถควบคุมในระดับที่ติดลบกว่า 10 องศา การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นการกำจัดขยะและของเสีย แต่สามารถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี

เป้าหมายของโครงการ จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย เพื่อกำจัดขยะแบบถาวรและสร้างพลังงานไฟฟ้าทดแทนทั่วประเทศ ทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล ต่างๆ โดยเริ่มนำร่องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นอันดับแรกเพื่อสนับสนุนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับนักท่องเที่ยวและการเปิดด่านชายแดนไทยบ้านพุน้ำร้อน งบลงทุน 1,350 ล้านบาท ทั้งส่วนค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

รวมทั้งเครื่องจักรผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 6 เมกะวัตต์ สามารถกำจัดขยะได้วันละไม่น้อยกว่า 500 ตัน และจะดำเนินการในด้านธุรกิจนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่องประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน พ.ศ. 2565 และคาดว่าโครงการต้นแบบจะสามารถทำให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันร่วมมือทางธุรกิจ.