AI ความหวังหรือความกังวลของวงการแพทย์ยุคดิจิทัล?

Tech & Innovation

Tech Companies

Tag

AI ความหวังหรือความกังวลของวงการแพทย์ยุคดิจิทัล?

Date Time: 27 ธ.ค. 2567 18:42 น.

Video

นักลงทุนรุ่นใหม่ ยังเป็น VI ได้ไหมในยุคนี้กับ “เซียนมี่ ทิวา” และ ”นิ้วโป้ง อธิป“ | Money Issue

Summary

  • ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำ “ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI” กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าการนำ AI มาใช้ด้านการแพทย์เป็นทั้งความหวังและในขณะเดียวกันก็เป็นความกังวลให้กับบุคลากรทางการแพทย์อยู่ไม่น้อยว่าจะส่งผลกระทบต่ออนาคตการดูแลผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน?

Latest


ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำ “ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI” กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าการนำ AI มาใช้ด้านการแพทย์เป็นทั้งความหวังและในขณะเดียวกันก็เป็นความกังวลให้กับบุคลากรทางการแพทย์อยู่ไม่น้อยว่าจะส่งผลกระทบต่ออนาคตการดูแลผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน?

ทุกครั้งที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ความกังวลคือสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือเราหนีการหมุนไปข้างหน้าของเข็มนาฬิกาไม่ได้ การกังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอาจจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ยืนยันจากรายงานของ Healthcare Information and Management Systems Society (HIMSS) และ Medscape แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวงการแพทย์ตลอดปี 2024 ที่เพิ่มมากขึ้นและหลากหลายกว่าเดิม ทั้งยังเห็นถึงแนวโน้มและผลกระทบของ AI ในอนาคต บุคลากรทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

สำรวจสถานะปัจจุบันของ AI ในวงการแพทย์ มองหาโอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้น รวมถึงมุมมองของแพทย์ต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

AI ถูกประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ด้านไหนมากที่สุดในปี 2024

จากรายงานของ Healthcare Information and Management Systems Society (HIMSS) และ Medscape พบว่าบุคลากรทางการแพทย์เริ่มนำ AI มาใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะ “ด้านการจัดการเอกสารและการบันทึกข้อมูลด้วย AI” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพอันโดดเด่นของเทคโนโลยีแปลงเสียงเป็นข้อความ (Speech-to-Text หรือ ASR) ที่เข้ามาช่วยลดภาระงานด้านเอกสารของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างมาก

ที่สำคัญข้อมูลจากรายงานยังพบว่า AI ให้ผลลัพธ์การแปลงเสียงเป็นข้อความ (Speech-to-Text) ทางการแพทย์ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ จะเห็นได้ว่าองค์กรชั้นนำทางการแพทย์เริ่มหันมาใช้ AI เข้ามาช่วยจัดการงานเอกสารมากขึ้น สะท้อนให้เห็นจากผลลัพธ์ในรายงานที่ออกมาในเชิงบวก แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีก็ตาม

นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทสำคัญในการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ทางการแพทย์ และการทบทวนบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) รวมถึงการใช้ AI ในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ช่วยให้แพทย์ติดตามข้อมูลผู้ป่วยได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในหลายโรงพยาบาลก็ตาม

5 AI Tools ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดปี 2024

  1. แปลงเสียงสนทนาระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเพื่อเป็นบันทึกทางการแพทย์ (Transcribing Patient Notes) - 36%
  2. แปลงเสียงสนทนาในการประชุม (Transcribing Business Meetings) - 32%
  3. ออกแบบ สร้างบทสนทนาและจัดการการสื่อสารที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับผู้ป่วย - 29%
  4. การเก็บบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย เช่น บันทึกทางคลินิกและการลงรหัส (Performing Patient-related Recordkeeping Tasks e.g., clinical notes and coding) - 27%
  5. ทบทวนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วย (Reviewing Patient EHRs) - 26%
ข้อมูลจากรายงานของ Healthcare Information and Management Systems Society (HIMSS) และ Medscape
ข้อมูลจากรายงานของ Healthcare Information and Management Systems Society (HIMSS) และ Medscape

PresScribe by Looloo Health: AI ผู้ช่วยแพทย์อัจฉริยะ

Looloo Health สตาร์ตอัปภายใต้ Looloo Technology ที่พร้อมยกระดับการแพทย์ไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยการนำ AI ภาษาไทยเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ ผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชันทางการแพทย์ เพื่อตอบโจทย์ทั้งแพทย์และคนไข้ ที่สำคัญต้องการให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดีได้อย่างเท่าเทียม แอปฯ PresScribe by Looloo Health PresScribe by Looloo Health ผู้ช่วยหมออัจฉริยะ AI ที่จะช่วยสรุปบทสนทนากับคนไข้เป็นบันทึกทางการแพทย์ให้อัตโนมัติ ใช้งานง่าย เชื่อมต่อได้กับระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้ ที่สำคัญให้ความแม่นยำสูงและเชื่อถือได้ เพราะพัฒนาโดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI, Microsoft และ Google Assistant

เพราะเราต้องการ “คืนเวลาให้หมอ ได้ทำหน้าที่หมอ”

  • ลดงานเอกสาร ประหยัดเวลา 40% ต่อเคสการรักษา
  • ช่วยลดอาการ Burnout ของแพทย์
  • เพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้มากขึ้น
PresScribe by Looloo Health ผู้ช่วยหมออัจฉริยะ AI
PresScribe by Looloo Health ผู้ช่วยหมออัจฉริยะ AI

PresScribe by Looloo Health เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์

  • Clinical Notes Format สรุปบทสนทนาระหว่างหมอและคนไข้สำหรับแพทย์เพื่อสร้างมาตรฐานในการจดบันทึก ทั้งยังลดเวลาของหมอที่ใช้ในการจดบันทึก
  • EHR Integration เชื่อมต่อได้กับทุกระบบของโรงพยาบาลได้แบบไร้รอยต่อ ที่สำคัญมั่นใจได้ว่าไม่มีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
  • Patient Summary สร้างบันทึกสรุปผู้ป่วยแบบมืออาชีพ ให้คนไข้เข้าใจง่ายและดูแลตัวเองได้ถูกต้อง
  • Medical Codification รองรับการเข้ารหัสข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อให้แพทย์หรือนักวิชาการนำรหัสโรคต่าง ๆ ไปทำงานต่อได้อย่างสะดวกมากขึ้น

รายละเอียด PresScribe by Looloo Health เพิ่มเติม https://looloohealth.com/

AI ความหวังหรือความกังวลในวงการแพทย์

แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ AI ทางการแพทย์ แต่จากรายงานบุคลากรทางการแพทย์ยังคงเชื่อว่า “AI จะเป็นความหวัง” ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวงการแพทย์ในอนาคต โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับศักยภาพของ AI ที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์และช่วยคาดการณ์ผลลัพธ์ของผู้ป่วย พร้อมปรับปรุงประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยให้ดีกว่าเดิม ที่สำคัญ AI จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในงานเอกสาร ลดภาระงานด้านการจัดการข้อมูล ทำให้แพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

หนึ่งในความสำเร็จที่โดดเด่นของ AI ในวงการแพทย์ที่เป็นความหวังสำคัญ คือการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ โดยเฉพาะในสาขารังสีวิทยา AI ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการตรวจจับความผิดปกติในภาพถ่ายทางการแพทย์ได้แม่นยำและรวดเร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคและลดภาระงานของรังสีแพทย์

AI ทางการแพทย์ที่ยังเป็นข้อกังวล

อย่างที่บอกไปว่า ความหวังมักมาพร้อมกับความกังวล โดย “ข้อกังวลของ AI” ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยกัน อย่างแรกคือ “ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี” ที่ไม่ทั่วถึง จากการศึกษาพบว่า มีเพียง 25% ของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา ที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน AI ในด้านรังสีวิทยา

นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่า 60% ของแพทย์กังวลว่า AI จะเข้ามาแทนที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของพวกเขา นอกจากนี้ 90% ของแพทย์ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องการฟ้องร้องทางการแพทย์ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ AI ในการวินิจฉัยและรักษา

ก้าวต่อไปของ AI ในวงการแพทย์ รับมืออย่างไร?

ในขณะที่ AI กำลังเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์อย่างรวดเร็ว คำถามสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ “จะสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ของเทคโนโลยีและความเป็นมนุษย์ในการดูแลสุขภาพได้อย่างไร?”

อนาคตของการแพทย์ไม่ได้อยู่ที่การแข่งขันระหว่างมนุษย์และ AI แต่อยู่ที่การผสมผสานความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย การเตรียมพร้อมสู่อนาคตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับในหลายด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รู้ก่อนปรับก่อนก็เพิ่มโอกาสและครองตลาดได้ก่อน

  • การพัฒนาบุคลากร: ฝึกอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้และทักษะในการใช้ AI
  • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับการทำงานของ AI
  • การสร้างความร่วมมือ: ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรด้านการแพทย์ บริษัทเทคโนโลยี และสถาบันวิจัย
  • การกำหนดนโยบายและจริยธรรม: พัฒนาแนวทางการใช้ AI ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและจริยธรรมทางการแพทย์

สรุปบทบาท AI ในวงการแพทย์ยุคดิจิทัล

AI กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการแพทย์และสาธารณสุข ด้วยศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงความแม่นยำในการวินิจฉัย และยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ในวงการแพทย์จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย จริยธรรม และการรักษาความเป็นมนุษย์ในการดูแลสุขภาพ

การเตรียมพร้อมทั้งในด้านบุคลากร เทคโนโลยี และนโยบายจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตของสุขภาพด้วย AI อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง AI ADOPTION IN HEALTHCARE REPORT 2024: https://www.himss.org/futureofai/ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

ปริชญ์ รังสิมานนท์

ปริชญ์ รังสิมานนท์
ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลูลู่ เทคโนโลยี จำกัด