Gartner ระบุว่า ธีมหลักในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ความจำเป็นและความเสี่ยงของ AI ที่องค์กรควรรู้เพื่อใช้งานอย่างเหมาะสม (AI Imperatives and Risks) ขอบเขตใหม่ของการประมวลผลที่กระตุ้นให้องค์กรพิจารณาถึงศักยภาพใหม่ๆ ของตนเอง (New Frontiers of Computing) และการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรเพื่อผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลไว้ด้วยกัน (Human-Machine Synergy)
Agentic AI ผู้ช่วย AI ที่เปรียบเสมือนตัวแทนบุคลากรที่เป็นผู้ช่วยให้บรรลุเป้าหมายงานตามที่กำหนด แบ่งเบาภาระงานพร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานบางอย่างให้ง่ายขึ้น
AI Governance Platforms แพลตฟอร์มกำกับดูแล AI ระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยให้องค์กรบริหารจัดการการทำงานของ AI ให้เป็นไปตามกรอบจริยธรรม มีธรรมาภิบาล หรือเป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของบริษัท ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความโปร่งใสและการทำงานอย่างมีความรับผิดชอบ
Disinformation Security ระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายข้อมูลเท็จ เครื่องมือที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและระบุความเสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบความเสียหายต่อองค์กร รวมถึงช่วยลดการฉ้อโกงและเพิ่มการป้องกันการเข้ายึดบัญชีผู้ใช้ผ่านการอัปเดตที่ต่อเนื่อง
Post-quantum Cryptography (PQC) ระบบป้องกันข้อมูลจากการถอดรหัสด้วยควอนตัมคอมพิวติ้ง (QC) เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแอปพลิเคชันแบบเดิมและอัลกอริธึมที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่รองรับ
Ambient Invisible Intelligence เทคโนโลยีที่ผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างแนบเนียน สร้างประสบการณ์ใช้งานที่เป็นธรรมชาติและเพิ่มการเข้าถึงที่ใกล้ชิดกับผู้คนมากขึ้น เหมาะสำหรับการติดตามข้อมูลที่จะต้นทุนต่ำลง
Energy-Efficient Computing การประมวลผลประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงาน แนวทางในการออกแบบโครงสร้างระบบ โค้ด อัลกอริธึม ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงาน ช่วยองค์กรลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนและปรับปรุงกระบวนการด้านความยั่งยืนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบการใช้พลังงานสีเขียว
Hybrid Computing การประมวลผลแบบไฮบริด การบูรณาการระบบอัตโนมัติของแต่ละหน่วยธุรกิจ ซึ่งเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนและใช้ทักษะเฉพาะทาง
Spatial Computing การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือน AR-VR เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และการตอบสนองความต้องการของผู้คนที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น ในเกม การศึกษา อีคอมเมิร์ซ รวมถึงจำลองภาพในการปฏิบัติงาน เช่น ภาคค้าปลีก การแพทย์ และการผลิต
Polyfunctional Robots หุ่นยนต์เอนกประสงค์ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานหลายอย่างในเครื่องเดียว สามารถทดแทนการทำงานบางอย่างตามคำสั่งหรือใช้เพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์
Neurological Enhancement เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการทำงานสมอง เทคโนโลยีที่กลไกสามารถอ่านและเข้าใจพฤติกรรม เพื่อปรับปรุงความสามารถทางความคิดหรือประมวลผล พัฒนาทักษะของมนุษย์และเสริมสร้างการเรียนรู้และปลดล็อกศักยภาพการทำงาน
ทั้งนี้ Gartner ระบุว่า เทรนด์เชิงกลยุทธ์เหล่านี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยพิจารณาจากศักยภาพของเราในการเปลี่ยนแปลงและรับมือกับปัญหา พร้อมกับการส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรับมือความเสี่ยงที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันและสร้างความได้เปรียบให้กับตัวเองในอนาคต
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -