AWS รุกหนักอาเซียน ล่าสุดเปิดตัว คลาวด์ Region ในมาเลเซียแล้ว ส่วนไทยรอคิวต้นปีหน้า

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

AWS รุกหนักอาเซียน ล่าสุดเปิดตัว คลาวด์ Region ในมาเลเซียแล้ว ส่วนไทยรอคิวต้นปีหน้า

Date Time: 28 ส.ค. 2567 12:18 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • AWS เปิดตัว AWS Asia Pacific (Malaysia) Region ในมาเลเซีย โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์แห่งใหม่ในอาเซียน รุกขยายตลาด เพิ่มพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรธุรกิจในมาเลเซีย พร้อมเผยเตรียมลงทุนเปิด Region ในไทยด้วยเช่นกันในช่วงต้นปี 2025

Latest


Amazon Web Services หรือ AWS ผู้ให้บริการคลาวด์ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ประกาศเปิดตัว AWS Asia Pacific (Malaysia) Region ในมาเลเซีย โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ เพิ่มทางเลือกให้นักพัฒนาแอปพลิเคชัน สตาร์ทอัพ และองค์กรต่างๆ รวมถึงภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไรในการเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย 

AWS รองรับการทำงานบนคลาวด์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บริการด้านการวิเคราะห์, การประมวลผล, การจัดเก็บข้อมูล, ระบบฐานข้อมูล IoT, Generative AI, Machine Learning, บริการด้านโมบายล์, พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์อื่นๆ 

นอกจากนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 6,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 210,000 ล้านบาทในมาเลเซียจนถึงปี 2581 ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ AWS มีต่อภูมิภาคนี้ ในขณะที่ไทย AWS ก็มีแผนจะลงทุนสร้างต่อในปี 2025 ด้วยเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 190,000 ล้านบาท


AWS Region คืออะไร?


AWS Regions คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วโลกที่ AWS จะเข้าไปลงทุนเพื่อสร้าง Infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐาน โดยในแต่ละ AWS Regions จะมี Availability Zones แยกกันอยู่อีกหลายแห่ง และในแต่ละ Availability Zones จะประกอบไปด้วย Data Centers และเป็นพื้นที่ที่มีเน็ตเวิร์กที่สามารถเชื่อมต่อด้วยค่าความหน่วงที่ต่ำ จัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย

โครงสร้าง AWS Regions ประกอบด้วย Availability Zones 3 แห่งที่ตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่แยกจากกันและแตกต่างกัน โดยมีระยะห่างเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานที่ต่อเนื่องของลูกค้า แต่ก็ใกล้พอที่จะให้ค่าความหน่วงต่ำสําหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการความเสถียรสูง โดย Availability Zone แต่ละแห่งจะมีแหล่งพลังงาน การระบายความร้อน และการรักษาความปลอดภัยที่แยกจากกัน และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่มีการเสริมและสำรอง และมีค่าความหน่วงต่ำเป็นพิเศษ ลูกค้า AWS ที่เน้นความเสถียรและพร้อมใช้งานสูง สามารถออกแบบแอปพลิเคชันให้ทํางานในหลายพื้นที่ Availability Zones และในหลาย Regions ได้ เพื่อให้เกิดความทนทานต่อความเสียหาย (Fault Tolerance) ที่ดียิ่งขึ้น

AWS Asia Pacific (Malaysia) Region แห่งใหม่นี้เป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ซึ่งในขณะนี้ประกอบด้วย Availability Zones จำนวน 108 แห่งใน 34 ภูมิภาคทั่วโลก และมีแผนที่จะเปิดตัว Availability Zones อีก 8 แห่ง และ AWS Regions ในอีก 6 ภูมิภาคเพิ่มเติมใน เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ไต้หวัน ประเทศไทย และยุโรป

การก่อสร้างและการดำเนินงานของ AWS Region ใหม่ คาดว่าจะเพิ่มผลผลิตรวมในประเทศ (GDP) ของมาเลเซียได้มากถึง 1.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5.73 หมื่นล้านริงกิต) และสนับสนุนการว่าจ้างงานโดยเฉลี่ยกว่า 3,500 ตำแหน่งต่อปี จนถึงปี 2581 ในมาเลเซีย งานเหล่านี้ เช่น การก่อสร้าง การดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐาน วิศวกรรม โทรคมนาคม และสายงานอื่นๆ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจในวงกว้างของประเทศ และ AWS ในมาเลเซีย

นอกจากนี้ การเปิดตัวโครงสร้าง Region ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ New Industrial Master Plan 2030 ของรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า มั่งคั่ง ครอบคลุมและยั่งยืน บวกกับแรงงานที่มีทักษะสูง เพื่อผลักดันให้ประเทศมาเลเซียก้าวสู่การเป็นฮับศูนย์รวมการผลิตและการให้บริการภายในเอเชีย และจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มาเลเซียมีบนเวทีโลก 


มีแผนเปิดตัวในไทย ต้นปี 2025


เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา AWS ได้ประกาศแผนเปิด AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในต้นปี 2025 ด้วยงบลงทุนกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 190,000 ล้านบาท และภายใน 2037 จะพร้อมเปิดให้นักพัฒนา สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ ธุรกิจ รวมไปถึงรัฐบาล ภาคการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้วยระบบคลาวด์และอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการทางด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย

AWS ได้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยตั้งแต่ 2006 และเมื่อปี 2015 ทาง AWS ได้เปิดตัวออฟฟิศแห่งแรกในกรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นฐานในการให้บริการลูกค้า ใช้เป็นพื้นที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม และนำเสนอบริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพให้กับองค์กรทั่วประเทศไทย

AWS Region แห่งใหม่ในประเทศไทยนี้ จะเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่มีเดิมอยู่แล้ว ประกอบไปด้วย Amazon CloudFront ที่มีอยู่แล้วจำนวน 10 แห่ง AWS Outposts และ AWS Local Zones

นอกจากนี้ AWS Region ในประเทศไทยจะเป็นแห่งที่ 4 ของอาเซียน โดยจะเปิดตัวหลังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

การเข้ามาของ AWS Region ยังเป็นการช่วยเสริมแกร่งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยรัฐบาลไทยได้มีวิสัยทัศน์ “Ignite Thailand” ในการเพิ่มศักยภาพการลงทุนด้านเทคโนโลยี สร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมให้ประเทศ พร้อมกับทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรมในประเทศให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เพื่อสร้างความพร้อมในการแข่งขันระดับโลก


ความท้าทายของ Data Center ในอาเซียน


ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และ Data Center ในอาเซียน ได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีในภูมิภาคที่ประเทศต่างๆ เร่งให้เกิดความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายของหน่วยงานรัฐในการยกระดับด้าน AI, Cloud Computing, IoT, Edge Computing และ 5G

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยในเรื่องของการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นทั่วอาเซียน หรือมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นประมาณ 125,000 รายต่อวัน จนดันให้อาเซียนกลายเป็นตลาดที่มีการเติบโตทางดิจิทัลเร็วที่สุดในโลก และสิ่งนี้เองก็เป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการลงทุนด้าน Cloud และ Data Center ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในอาเซียนยังคงมีประเด็นด้านความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ขาดแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ เนื่องมาจากขาดการสนับสนุนทางการศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ อีกทั้งยังขาดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการศึกษาในด้านนี้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติแรงงานด้านเทคฯ โดยคาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะขาดแคลนแรงงานกว่า 4.3 ล้านคนในปี 2030

  • Data centers ใช้พลังงานจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในภูมิภาคนี้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น จึงต้องมีการติดตั้งเครื่องมือและระบบความเย็น อีกทั้งในปี 2024 หลายประเทศเริ่มมีการออกนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และธุรกิจ Data Center จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามด้วย

ที่มา: AWS (1)(2), ARC Group

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์