Generative AI ซ้ำเติมวงการสื่อ ทั่วโลกกังวลข้อมูลเท็จที่เกิดจาก AI สร้างคอนเทนต์ เรียกยอดคลิก

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Generative AI ซ้ำเติมวงการสื่อ ทั่วโลกกังวลข้อมูลเท็จที่เกิดจาก AI สร้างคอนเทนต์ เรียกยอดคลิก

Date Time: 17 มิ.ย. 2567 19:47 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • Reuters Institute เผยแพร่รายงาน Public attitudes towards the use of AI in journalism เมื่อทั่วโลกกังวลข้อมูลเท็จ ที่เกิดจากการใช้ AI สร้างคอนเทนต์ เรียกยอดคลิก

Latest


Reuters Institute เผยแพร่ Digital News Report 2024 ฉบับล่าสุด ที่ได้ฉายภาพความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการใช้ AI ในการวงการสื่อ ความท้าทายใหม่ที่ห้องข่าวทั่วโลกกำลังเผชิญจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ Generative AI ทั้งในเรื่องโมเดลหารายได้และความยั่งยืนของธุรกิจ 

โดยเฉพาะบริษัทสื่อดั้งเดิมที่กำลังรับมือกับการลดลงของยอดผู้ชมผ่านโทรทัศน์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง บวกกับผลกระทบใหม่จากเครื่องมือ AI Overview ของ Google Search ที่ได้ผสานความสามารถของ AI เข้ามาปรับอัลกอริทึมให้ฉลาดมากขึ้น ช่วยคัดสรรข้อมูลทั้งคลิป ภาพ วิดีโอ พร้อมสรุปให้สะดวกกว่าเดิมในหน้าแรกของการเสิร์ช ซึ่งมีผลต่อการทำคอนเทนต์ SEO ให้ติดหน้าค้นหาหน้าแรกแบบเดิมในอดีต 

สำหรับประเด็นนี้ Google ออกมาอธิบายถึงประเด็นการอัปเดตอัลกอริทึมครั้งนี้ว่าระบบได้ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการแสดงผลการค้นหาและจัดการกับคอนเทนต์สแปมไปได้แล้ว 45% อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวออนไลน์อาจจะได้รับผลกระทบในด้านของจำนวนผลการค้นหาและยอดรายได้ที่ลดลงจากการอัปเดตครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางสำนักข่าวที่ไม่ได้รับผลกระทบ หรือบางรายมียอดการมองเห็นเพิ่มขึ้น 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Generative AI ซ้ำเติมวงการสื่อสารมวลชน 


รายงานเจาะจงไปที่ ข้อกังวลหลักที่มาจากการใช้งาน AI อย่างเปิดเผยในห้องข่าวที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาที่มี Men’s Journal AI ช่วยเขียนบทความสรุปจากบทความ หรือในเม็กซิโกและอังกฤษที่เริ่มทดลองผู้ประกาศข่าว AI ในช่องวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น การทดสอบหัวข้อข่าว, การสรุปข่าว, แชตบอต, การสร้างรูปภาพ และการแปลบทความ 

"การใช้ AI ในการทำงานของนักข่าวมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของเนื้อหา คนส่วนใหญ่กังวลถึงศักยภาพของ AI ในการสร้างข้อมูลที่มีอคติและข้อมูลที่เป็นเท็จในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะหัวข้อที่ละเอียดอ่อนอย่าง ประเด็นทางการเมือง"

แม้รายงานจะระบุว่า การรับรู้ด้าน AI มีผลสอดสอดคล้องกับความกังวลใจ ผู้ที่มีการรับรู้และเคยใช้งาน AI จะรู้สึกกังวลต่อการใช้งาน AI ในภาคสื่อสารมวลชนที่น้อยกว่า ในทางกลับกัน หากผู้ท่ีมีการรับรู้ในเรื่อง AI ต่ำ ไม่ไว้วางใจเทคโนโลยีการรู้ว่าองค์กรข่าวกำลังใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ก็อาจทำให้ความเชื่อมั่นต่อสื่อลดลงได้  

Public attitudes towards the use of AI in journalism
Public attitudes towards the use of AI in journalism

รายงานเสนอแนะอีกว่า ผู้คนเปิดกว้างหากนักข่าวใช้ AI เพื่อทำให้งานของพวกเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอข่าวสารรูปแบบใหม่ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ AI เข้ามาช่วยปรับปรุงประสบการณ์การเสพคอนเทนต์ 

โดยระหว่างการทดสอบการใช้งาน AI ที่หลากหลายของสื่อ ผู้คนจะมีจุดยืนและรู้สึกสบายใจกับการนำ AI มาใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชัดเจนในการบอกถึงที่มาของการผลิตว่าเนื้อหานี้ถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องมือ AI หรือไม่ ดังนั้นการชี้แจงถึงความโปร่งใสในการใช้ AI จะช่วยจัดการความคาดหวังและเพิ่มความเชื่อมั่นมากขึ้น  

ทั้งนี้ รายงานสรุปว่า ทัศนคติของสาธารณชนต่อการประยุกต์ใช้ AI ในการสื่อสารมวลชนจะยังคงพัฒนาต่อไป โดยปัจจุบันเราอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังไม่มีข้อสนับสนุนใดที่จะตัดสินว่าการใช้งาน AI ในองค์กรข่าวนั้นว่าเป็นที่ยอมรับหรือไม่ และแม้ว่าจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่จะยังถูกต่อต้าน แต่เมื่อพิจารณาจะเห็น ผู้คนมีความคิดเห็นที่ชัดเจนต่อความโปร่งใสของสื่อที่ใช้ ดังนั้นองค์กรสื่อต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ AI รวมถึงการให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความไว้วางใจของผู้ชม

อ้างอิง Reuters 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ